บ้านเรือนไทยอีสาน

ชื่อเจ้าของ

นาย กฤษฎากร อั๋นวงษ์

ประวัติเจ้าของ

เป็นผู้ประดิษฐ์บ้านเรือนไทยซึ่งทำจากกระดาษได้เริ่มทำการศึกษาและประดิษฐ์บ้านทรงไทยกระดาษมาเป็นเวลา 14 ปีเริ่มจาก อาจารย์ เทพาวุฒิ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้คิดค้นการทำบ้านทรงไทยกระดาษ โดยมีผู้ช่วยคือ นาย กฤษฎากร อั๋นวงษ์ ซึ่งตอนแรกได้มีการทดลองทำวัสดุจาก ไม้ และ ดิน แต่พบว่าเกิดปัญหาของอุปกรณ์และความคงทนที่ไม่แน่นอน จึงมีการคิดค้นวิธีการทำบ้านทรงไทยจากกระดาษซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลตอบรับที่ดีเนื่องจากอุปกรณ์สามารถหาได้ง่ายและตอบโจทย์สำหรับทุกเพศทุกวัยที่ต้องการจะเรียนรู้วิธีการทำบ้านทรงไทยกระดาษ ทั้งหมดนี้จึงถือเป็นการสร้างงานอนุรักษ์ศิลปะเมืองไทยให้คงอยู่ต่อไป

ประวัติวัตถุจัดแสดง

บ้านเรือนไทยภาคอีสาน คนภาคอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือและใต้ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าวางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” เชื่อว่าหากสร้างเรือน “ขวางตาเว็น” และจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข รูปแบบของเรือนไทยภาคอีสานเสายกพื้นค่อนข้างสูง ทำให้มีพื้นที่ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่ประกอบหัตถกรรมครัวเรือน ทอผ้า ใช้เก็บไห หมักปลาร้า เป็นคอกเลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์ทำไร่ทำนา ไปจนถึงจอดเกวียนหรือล้อหลังคาใช้วัสดุในท้องถิ่นคือมุงด้วยหญ้าหรือสังกะสี ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตอง โดยใช้ใบกุงหรือใบชาดมาประกบด้วยไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาตาราง หรือทำเป็นฝาไม้ไผ่สาน มีส่วนที่เรียกว่า “เกย” (ชานโล่งมีหลังคา คลุม) เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก ที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ ใช้เป็นที่เก็บฟืน “ชานแดด” เป็นบริเวณ นอกชานเชื่อมระหว่างเกยเรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี“ฮ้างแอ่งน้ำ” เป็นที่วางหม้อดิน ใส่น้ำดื่มอยู่ตรงขอบของชานแดด บริเวณรอบๆเรือนอีสานไม่นิยมทำรั้วเพราะเป็นสังคมเครือญาติ เป็นลักษณะของเรือนไทยภาคอีสาน