ชุมชนตลาดน้ำสองคลอง วัดตลิ่งชัน

เรือนไทยจากกระดาษ เรือนไทยจากบ้านกระดาษเป็นงานสถาปัตยกรรมจำลองจากกระดาษ หรือเปเปอร์ โมเดล (Paper Model) เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติมานานแล้ว ลักษณะของการสร้างเรือนไทยเสมือนการสร้างเรือนไทยจริงๆในขนาดที่เล็กลง ส่วนคนไทยมีแฟนพันธุ์แท้ที่ชื่นชอบงานประเภทนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ลักษณะหรือรูปแบบโมเดลที่ประดิษฐ์กันอยู่ เรือนไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่สืบทอดมายาวนาน ในอดีตนั้นพบได้ทั่วไปตามภาคกลางของไทย ลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นเรือนไม้ ยกพื้นสูง หลังคาทรงสูง ชานกว้าง ชายคายื่นยาว มีเหงาปั้นลมเป็นเอกลักษณ์ของบ้านภาคกลาง ในการทำบ้านเรือนไทยจากกระดาษต้องอาศัยทักษะในด้านศิลปะ ความแม่นยำ และสมาธิ ในการสร้างขึ้นมาเนื่องจากเป็นงานที่ปราณีตและต้องใช้เวลาในการทำชิ้นงานให้สำเร็จ ลักษณะของบ้านเรือนไทย ลักษณะบ้านของผู้มีฐานะ หรือ คหบดีจะสร้างบ้านเรือนเป็นหมู่ ประกอบด้วยเรือนหลายหลังมีชานแล่นติดต่อกัน เรือนแต่ละหลังใช้เป็นที่อยู่ของคนในตระกูล โดยมีเรือนพ่อแม่เป็นประธานซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าทุกเรือน เรือนทุกหลังหันเข้าหากัน ลักษณะบ้านของผู้มีฐานะปานกลาง เมื่อแยกออกจากตระกูลไปจะสร้างเรือนหลังคาเดี่ยวหรือเรือนหลังคาคู่เป็นประธานไว้ก่อน ต่อเมื่อมีลูกหลานก็จะขยายเรือนเป็นหมู่ เรือนไทย ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับดินฟเาอากาศของประเทศไทย มีความงดงาม ฝีมือ การสร้างประณีต มีประโยชน์ใช้สอยเหมาะกับวิถีชีวิตคนไทยในสมัยก่อนอย่างแท้จริง