เทียนหินหรือเทียนกาญจน์

รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Impatiens kanburiensis T. Shimizu.

วงศ์ (Family) :

ชื่อพื้นเมือง (Vernacular name) :

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 50-100 ซม. กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน ยาวประมาณ 4.5 ซม. มีต่อมรูปรี 1 คู่ ที่ขอบใบด้านล่าง ปลายและโคนใบแหลม โคนเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบหยักมน ปลายหยักเป็นติ่งสั้นๆ แผ่นใบด้านล่างมีขนตามเส้นใบ เส้นใบ 8-10 คู่ ก้านใบยาว 1-2 ซม. ดอกออกเดี่ยวๆ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับติดที่โคนก้านดอก ก้านดอกยาว 0.5–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงกลีบข้าง 4 กลีบ กลีบคู่ในมีขนาดเล็ก กลีบคู่นอกเชื่อมติดกันเป็นกะเปาะ ปลายแยก 2 แฉก แต่ละแฉกปลายมีติ่งแหลม ด้านนอกมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น กลีบปากเป็นถุง กว้างประมาณ 0.8 ซม.ด้านในมีจุดสีเหลือง ตรงกลางมีปื้นสีเหลือง เดือยสั้น 1คู่ กลีบดอกกลีบกลางรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 ซม. สีม่วงอ่อนช่วงปลายกลีบ กลางกลีบเป็นสันสีเขียวอ่อน ปลายกลีบเป็นติ่งแหลม กลีบปีกเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบคู่นอกยาวประมาณ 1.2 ซม. ปลายมน เว้าตื้นๆ ที่โคนมีเขา แคปซูลเต่งตรงกลาง ปลายเรียวแหลม เมล็ดรูปขอบขนาน แบน ยาวประมาณ 0.4 ซม. มีขนสั้นนุ่ม พืชถิ่นเดียวของไทย ขึ้นตามเขาหินปูน ระดับความสูงไม่เกิน 350 เมตร