หญ้าพญางูเขียว

รายละเอียด

  

ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl

ชื่อพ้อง : Stachytarpheta indica (L.) Vahl

ชื่อพื้นเมืองอื่น : ลังถึ่งดุ้ก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ) ; เดือยงู, พระอินทร์โปรย (ชุมพร) ; พันงูเขียว, สารพัดพิษ, สี่บาท (ภาคกลาง) ; เจ๊กจับกบ (ตราด) ; หญ้าหางงู (ภาคใต้)ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 50-100 ซม. แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข็มอวบฉ่ำน้ำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบรูปไข่ ปลายใบสอบเรียวและแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย สีเขียวเข้ม โคนใบสอบแหลม ตรงกลางใบจะกว้างกว่าตรงปลายและโคนใบ เนื้อใบบางแต่ดูฉ่ำน้ำ บนท้องใบมีเส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน ออกดอกตรงปลายยอด ดอกเล็กบานเป็นกลีบสีน้ำเงินม่วง บนก้านช่อที่ออกปลายกิ่ง ซึ่งเป็นแท่งทรงกลมเท่ากับกิ่งก้านสาขายาวประมาณ 5-10 นิ้ว ผิวมีลักษณะเหมือนเกล็ดห่างๆ คล้ายหางงู

สรรพคุณในตำรายา ทั้งต้น รสเค็มเล็กน้อย แก้ไข้ ขับเหงื่อ ขับล้างพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ ดับพิษต่าง ๆ แก้อักเสบต่าง ๆ แก้โรคหนองใน หรือแก้พิษอักเสบปวดบวม


ขนาด

ไม้พุ่ม ขนาด  50-100 ซม.