หวายลิเภา

รายละเอียด

  

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lygodium flexuosum (L.) Sw.

วงศ์ : Schizaeaceae

ชื่ออื่น : กระฉอก (ปราจีนบุรี) กะฉอก (ราชบุรี) กิ๊กุโพเด๊าะ ไก่ขู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กูดเครือ กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักตีต๊กโต (ภาคเหนือ) ตะเภาขึ้นหน (ภาคใต้, ประจวบคีรีขันธ์) ตีนตะขาบ (พิจิตร) ทุไก่โค (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เฟินตีนมังกร (กรุงเทพฯ) รีบูบะซา (มลายู-นราธิวาส) ลิเภาใหญ่ (ปัตตานี) หญ้ายายเภา (จันทบุรี,ภาคใต้) หลีเภา (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ลำต้นเป็นเถากลมขนาดเล็กแต่เหนียวทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นเมื่อแก่มีสีดำเป็นมัน ใบ เป็นใบประกอบ ออกจากลำต้นเป็นคู่แบบตรงข้าม ประกอบด้วยใบย่อย 7 ใบ ใบมีรูปร่างแบบใบหอก ใบที่สร้างอับสปอร์จะเรียวยาวและขอบใบจะเป็นจักหยาบกว่าใบที่ไม่สร้างอับสปอร์ สามารถมองเห็นอับสปอร์ยื่นออกมาตามขอบใบ พบขึ้นในสวนยางพารา ไร่ปาล์มน้ำมัน บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง เจริญงอกงามในฤดูฝน ขยายพันธุ์โดยการสร้าสปอร์และการแตกกอ





ต้นลิเภา จัดเป็นเฟิร์นทอดเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นยาวได้หลายเมตร ลำต้นเป็นเหง้าสั้นมีขนสีน้ำตาลเข้มหนาแน่น ไม่มีเกล็ด ลำต้นเมื่อแก่จะมีสีดำและเป็นมัน เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบแสงแดดรำไร พบขึ้นตามป่าทั่วไป ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าผลัดใบผสมทั่วทุกภาคของประเทศ

ลำต้นสีดำถูกนำไปใช้ในงานหัตถกรรมจักสานภาชนะ เครื่องประดับ

บ้านท่าดินแดงพบต้นลิเภาบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำใกล้ๆ กับบริเวณเหมืองแร่โบราณ 




ขนาด

เฟิร์นเลื้อยพันกับต้นไม้อื่น ยาวได้หลายเมตร