เครื่องจักรที่ได้มีการนำมาใช้ในการผลิตสาคูมี 2 เครื่อง ได้แก่ เครื่องผลิตแป้งสาคู และเครื่องทำเม็ดแป้งสาคู ดังนั้นสาคูจะมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดผง และชนิดเม็ด โดยวิธีการทำในรูปแบบเครื่องจักร มีดังนี้ วิธีการที่ 1 โค่นต้นสาคู โดยมีปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การเคลื่อนย้าย เนื่องจากท่อนสาคูท่อนนึงหนักมาก มีน้ำหนักประมาณ 60 - 70 กิโลกรัม ทั้งต้นประมาณ 900 กิโลกรัม วิธีการที่ 2 ก่อนนำเข้าเครื่อง ทำความสะอาดแล้ว ตัดให้เป็นซุง เราะเปลือกออกก่อน โดยใช้เสียม เปลือกกับเนื้อจะติดกันแน่นมาก เราะเปลือกเสร็จก็ทำเป็นท่อนประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อเอาเข้าเครื่อง วิธีการทำงานของเครื่องผลิตแป้งสาคู วิธีการที่ 1 ชุดขูดเลียนแบบไม้ตอกตะปูภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลัง แล้วเปิดสวิตช์ ชุดท่อนขูดก็จะหมุนแล้วจะขูดเนื้อสาคู ออกมาเป็นผงลงในถัง ใกล้เคียงกับขูดแบบโบราณ เรียกว่าถังกวน วิธีการที่ 2 ในถังกวนต้องผสมน้ำ และใส่น้ำบ่อยๆ เมื่อเปิดสวิตช์ก็จะมีใบพัด เป็นตัวตีให้เนื้อสาคูกับแป้งแยกออกจากกัน ตีประมาณ 1 ถึง 2 นาที วิธีการที่ 3 จากนั้นเปิดวาล์วข้างล่าง เนื้อกับแป้งสาคูก็จะลงสู่ตะแกรง ส่วนน้ำแป้งขาว ๆ ไหลสู่ถังรอง แยกน้ำแยกกากให้เรียบร้อย วิธีการทำงานของเครื่องผลิตเม็ดแป้งสาคู วิธีการที่ 1 นำแป้งสาคูผงที่ชื้นจับตัวเป็นเม็ด มาใส่ตะแกงแยกขนาด ซึ่งจะมี 4 ขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร 3 มิลลิเมตร 2 มิลลิเมตร และ1 มิลลิเมตร โดยขนาด 5 มิลลิเมตรจะไม่ค่อยนำมาใช้ในเชิงแปรรูปอาหาร วิธีการที่ 2 เม็ดสาคูที่ยังมีความชื้นอยู่ต้องนำไปตากแดดจนแห้งสนิท จากนั้นก็นำไปสู่ขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์ ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการแปรรูปเมื่อเป็นแป้งสาคู แป้งสาคูสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เสีย และมักจะไม่มีแมลงขึ้น แต่ไม่ควรนำไปเก็บในที่ชื้น ถ้าหากเก็บไว้ในที่ชื้นแป้งจะมีกลิ่นเปรี้ยว หากแป้งมีกลิ่นเปรี้ยวแนะนำให้เอาแป้งไปแกว่งน้ำให้แป้งตกตะกอน รอจนแป้งตกตะกอนแล้วนำไปตากแดดใหม่ก็จะได้แป้งสาคูพร้อมใช้งานเหมือนเดิม


สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = อื่นๆ