เสื่อสาคู หรือภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกกันว่า "สาคู" ใช้สำหรับปูนอนรองนั่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำไว้ใช้เอง ตังที่ชาวบ้านในตำบลนาโยง จังหวัดตรังกล่าวไว้ว่า "นอนสาด สาคู ฤดูร้อนไม่ร้อนมันเย็นหลัง" (พราก ไกรสุทธิ์, สัมภาษณ์) การทำเสื่อสาคูโดยใช้เปลือกทาง สาคู คล้าและคลุ้ม มาสานเป็นเสื่อตามลวดลายด่าง ๆ ที่ต้องการ เช่น ลายขัด ลายสอง ลายสาม ลายบองหยอง ลายลูกแก้ว ลวตลายด่าง ๆ เหล่านี้เป็นความรู้ที่ชาวบ้านได้ทดลองปฏิบัติสืบต่อ กันมาหลายรุ่น จนก่อให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นงานศิลปะที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของคน ในชุมชนรอบป่าสาคู วิธีทำเสื่อนั้นเริ่มจากการเลือกทางสาคูที่สมบูรณ์ มีความยาวประมาณ 2.50 เมตร ลอกผิวทางสาคูให้เป็นตอกขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร โดย 1 ทางสาคู จะลอกเป็นดอกได้ประมาณ 7-10 ซี่ หลังจากนั้นขูดดอกสาดูให้บางและเรียบเท่ากันโตยใช้มีดหรือพร้า หลังจากนั้นนำไปหมักโคลนหากต้องการสานเป็นลายลูกแก้ว ให้นำไปตอกสาคูไปหมักไว้ครึ่งหนึ่งประมาณ 3-4 วัน จะได้ดอกที่มีสีดำ นำมาตากแดดให้แห้ง ส่วนดอกที่ไม่ได้หมักโคลนนำมาแขวนไว้ หลังจากนั้นนำมาสานให้ได้ลวดลายต่าง ๆ ผืนหนึ่งจะมีขนาต 2x2 เมตร จะต้องใช้ตอกทางสาคูประมาณ 200 ซี่ หลังจากนั้นจะสานขอบเสื่อ โดยใช้ย่านตับเต่า หรือย่านย่านางมาสานขอบ โดย 1 ผืน ใช้เวลาในการสานประมาณ 2-3 วัน ปัจจุบันราคาเสื่อคิดเป็นตารางเมตรละ 150-200 บาทปัจจุบันชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาในการสานเสื่อเริ่มลดน้อยลง มีผู้ที่สามารถสานเป็นเพียง ไม่กี่คนเท่านั้น เช่น ในจังหวัดดรังพบผู้ที่ยังสานเสื่อได้มีอยู่ 4-5 คน ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเพียง 2 คน กลุ่มคนที่สานเสื่อได้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนให้นำครูภูมิปัญญาไปถ่ายทอดการจักสานเสื่อสาคู การทำแป้งสาคู และการทำขนมจากแป้งสาคูให้กับนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ


สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = อื่นๆ