- ลักษณะทั่วไป : สาคูเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลปาล์ม โดยสาคูเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตแห่งชุมชนตรังนา เป็นปาล์มแตกกอขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 8-15 เมตร ลำต้นทอดขนานพื้นดินและตั้งตรงขนาดประมาณ 18 นิ้ว - การเจริญเติบโต : สาคูกว่าจะเติบโตได้ตั้งใช้เวลา 10-15 ปี อยู่ที่ว่าคุณภาพดินเป็นอย่างไร ต้นที่ใช้ทำแป้งที่ดีที่สุดคือต้นที่แตกเขากวางหรือแตกช่อดอก แล้วจะออกเป็นผล ถ้ามีเขากวางจะมีปริมาณแป้งสะสมมาก ถึงจะตัดโค่นนำไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าไม่โค่นไปใช้ประโยชน์ จะแตกดอกออกมาเมล็ดแก่ก็จะร่วง ถ้าร่วงและปริมาณแป้งก็จะลดลง เพราะว่าต้องเอาไปเลี้ยงผล ต้นสาคูจะเปล่าประโยชน์ถ้าไม่นำไปใช้ - ใบ : ใบประกอบรูปขนนก เรียงสลับกันจำนวน 10-15 ทาง มีความยาว 4-5 เมตร กว้างประมาณ 2-3 เมตร โดยจะมีใบย่อยด้านละ 60-90 ใบ ลักษณะรูปเรียวแคบปลายเรียวแหลมคล้ายใบมะพร้าว มีความยาว 1-1.3 เมตร มีหนามเล็ก ๆ บริเวณขอบใบ - ทาง : แต่ละอันมีความยาวประมาณ 3-4 เมตร มีลักษณะกลมส่วนกาบและเรียวไปหาปลายทาง - ดอก : ช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ มีจำนวนมากที่บริเวณปลายยอด มีความยาว 3-4 เมตร ดอกมีสีน้ำตาลแกมแดง ลักษณะคล้ายเขากวางคนในท้องถิ่นเรียกว่า แตกเขากวาง และออกดอกเมื่อต้นสาคู สูงประมาณ 8-10 เมตร - ผล : รูปทรงกลมแป้น มีขนาด 3.5 x 4 เซนติเมตร ลักษณะรูปเรียวแคบปลายเรียวแหลม โดย 1 ผล จะมีเพียง 1 เมล็ดเท่านั้น เมื่อสาคูออกดอกออกผล สาคูจะตายและแตกต้นอ่อนขึ้นมาแทน - ระยะเวลาการออกดอกและผลิตผล : มีนาคม - ธันวาคม - วิธีการขยายพันธุ์ : 1.การแยกหน่อ 2.เพาะเมล็ด โดยจะใช้ระยะเวลาเพาะกล้าประมาณ 40-65 วัน


สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง