- กลุ่มข้าวซ้อมมือการรวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนการพึ่งพาป่าสาคูและการนำเสนอคุณค่าของป่าสาคูให้ชุมชนตระหนักถึงการขุดลอกคลองเพื่อสร้างชลประทานซึ่งเป็นการทำลายป่าสาคู - สมาคมหยาดฝน เข้ามาทำงานเชื่อมประสานผู้คนกลุ่มต่างๆ - กลุ่มผู้หญิงป่าสาคูร่วมใจ จัดตั้งขึ้นโดยจะมักจะมีกิจกรรมการแปรรูปอาหารและขนม จากแป้งสาคู ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำเภอนาโยงในปี 2543 นับเป็นองค์กรภาคประชาชนแรก โดยใช้หลักการทำงาน "4 ร่วม" สู่ความยั่งยืน ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมติดตามและประเมินผล และมีความพยายามผลักดันให้การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าสาคู เป็นข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล ขยายกิจกรรมเข้าสู่โรงเรียนรอบพื้นที่ป่าสาคู มีเป้าหมายให้เกิดการเรียนการสอนเรื่องป่าสาคูในมิติต่าง ๆ - ศูนย์การเรียนรู้นิเวศป่าสาคู จัดตั้งขึ้นในปี 2553 ภายใต้การสนับสนุนสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้โดยรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อการอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการอนุรักษ์ต้นสาคู และการฝึกแปรรูปอาหารจากสาคู รวมถึงมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอนุรักษ์ต้นสาคูของชุมชน


สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ป่าสาคู อ.นาโยง จ.ตรัง