ปากแล

ปากแล เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของแผงแล ซึ่งเป็นแผ่นไม้อยู่ระหว่างแปรับกลอนหลังคากับคอสองรับปีกนกด้านข้าง ที่เรียกว่าปากแลเพราะมักทำเป็นรูปปากนกแก้ว ปากแลชิ้นนี้ ทำจากไม้ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงปลายทั้งสองด้านมีแกนหลักไว้สำหรับยึดติดโครงสร้างแปรลงมา มีการสลักเป็นร่องสองขีด ตรงกลางมีการแกะสลักเหมือนเขี้ยวทั้งข้างบนและข้างล่างรวมสองสี่ซี่เหมือนปากสิงห์ ขนาดยาว 49.5 ซม. กว้าง 12.3 ซม. ในอดีตเป็นปากแลของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 6 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ขนาด

ขนาด : ย. 49.5 ซม. ก. 12.3 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : ทำจากไม้ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงปลายทั้งสองด้านมีแกนหลักไว้สำหรับยึดติดโครงสร้างแปรลงมา มีการสลักเป็นร่องสองขีด ตรงกลางมีการแกะสลักเหมือนเขี้ยวทั้งข้างบนและข้างล่างรวมสองสี่ซี่เหมือนปากสิงห์

ชื่อเจ้าของ

วัดมงคลทุ่งแป้ง

ประวัติเจ้าของ

ไม่ทราบ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ในอดีตเป็นปากแลของวิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด