กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ

กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณ เป็นกระเบื้องดินเผาชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมปลายตัดตรง ด้านล่างทำเป็นปุ่มเพื่อเอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ระยะหลัง มีการพัฒนารูปแบบให้มีลักษณะปลายมนบ้าง ลบเหลี่ยมบ้าง แล้วแต่ผู้ผลิต แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเป็นกระเบื้องหลังคาดินเผาขนาดเล็ก ในอดีตพื้นที่ที่นิยมใช้ คือ ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ กระเบื้องดินขอมุงหลังคาโบราณชิ้นนี้ในอดีตเป็นกระเบื้องดินขอที่ใช้มุงหลังคาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง ลักษณะทำจากดินเผา เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ปลายด้านหนึ่งเป็นส่วนที่เอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ลักษณะลวดลายบริเวณดังกล่าวทำเป็นลายดอกล้านนา ดอกตรงกลางจะมีขนาดใหญ่ที่สุด ด้านข้างออกไปจะเป็นลวดลายเครือเถาว์ค่อนข้างเต็มบริเวณ หรือเรียกว่าลายพันธุ์พฤกษา ขนาด กว้าง 10.3 ซม. ยาว 22.0 ซม. สูง 2.2 ซม. หนา 0.7 ซม. ปัจจุบันจัดแสดงบริเวณตู้หมายเลข 3 วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ขนาด

ขนาด : ก. 10.3 ซม. ย. 22.0 ซม. ส. 2.2 ซม. น. 0.7 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : ทำจากดินเผา ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมปลายตัดตรง ปลายด้านหนึ่งเป็นส่วนที่เอาไว้เกี่ยวกับระแนงที่รองรับ ลักษณะลวดลายบริเวณดังกล่าวทำเป็นลายดอกล้านนา ดอกตรงกลางจะมีขนาดใหญ่ที่สุด ด้านข้างออกไปจะเป็นลวดลายเครือเถาว์ค่อนข้างเต็มบริเวณ หรือเรียกว่าลายพันธุ์พฤกษา

ชื่อเจ้าของ

วัดมงคลทุ่งแป้ง

ประวัติเจ้าของ

ไม่ทราบ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ในอดีตเป็นกระเบื้องดินขอที่ใช้มุงหลังคาวิหารของวัดมงคลทุ่งแป้ง ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 500 ปีขึ้นไป ภายหลังเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ตามสภาพกาลเวลา เจ้าอาวาสรุ่นก่อนจึงได้มีการเก็บรักษาชิ้นส่วนเดิมเอาไว้ ต่อมาพระดอนศักดิ์ กตปุญโญ (เจ้าอาวาสวัดมงคลทุ่งแป้งองค์ปัจจุบัน) จึงได้นำมาจัดแสดง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

วิหารวัดมงคลทุ่งแป้ง

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่ทราบช่วงเวลาแน่ชัด