หม้อใส่ข้าวสาร

หม้อใส่ข้าวสารขนาดใหญ่ใบนี้ เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ในอดีตมีการนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับชิ้นนี้ นางอุษา บุญชุ่มใจ ผู้เป็นเจ้าของ ได้นำมาใส่ข้าวสารเพื่อป้องกันมอดหรือแมลงที่อยู่ในข้าว นอกจากนี้ คนในอดีตยังนิยมนำมาใส่น้ำดื่ม เนื่องจากดินเผามีคุณสมบัติช่วยรักษาความเย็นของน้ำ ทำให้น้ำที่อยู่ในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา สำหรับขั้นตอนการผลิตหม้อนั้น เริ่มต้นจากการเตรียมดินแล้วนำมาตากแห้ง จากนั้นนำไปร่อนตะแกรงแล้วผสมกับทรายโดยมีสัดส่วนการผสมในปริมาณ ดิน 5 ส่วน ทราย 3 ส่วน ผสมน้ำแล้วนวดผสมให้เข้ากัน แล้วจึงนำมาขึ้นรูปเป็นหม้อ จากนั้นจึงนำไปเผาโดยนำไม้ไผ่ผ่าซีกมาวางรอง จากนั้นปูทับด้วยฟาง แล้วจึงนำหม้อวางลงไปเผาก่อนนำไปใช้งาน

ขนาด

ขนาด : ส. 39 ซม. ก. 31.5 ซม. ศก. 15.75 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : หม้อดินเผาขนาดใหญ่ กว้าง ฐานแคบ มีฝาปิดด้านบนหม้อ

ชื่อเจ้าของ

นางอุษา บุญชุ่มใจ

ประวัติเจ้าของ

มีชีวิตอยู่

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ใช้สำหรับบรรจุข้าวสารแห้ง หรือน้ำดื่มเพราะหม้อดินเผาอุ้มน้ำ ทำให้น้ำเย็นสดชื่น

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

นางอุษา บุญชุ่มใจ มอบให้กับ นางพรรษา บัวมะลิ ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ

ช่วงเวลาการสะสม

ประมาณ 70 ปี