ของเล่นจากใบลาน กบ


กบของเล่นสานจากใบลานแห้ง ซึ่งกบ หรือที่คนไทยเบิ้งมักเรียกกันว่า “ไอ้เอ็บ” นั้น เป็นสัตว์ที่คนไทยเบิ้งนิยมรับประทาน โดยเฉพาะหน้าฝนนั้น คนที่นี่ มักจะพากันออกไปหากิน จับกบจับอึ่ง เพื่อนำกลับมาทำเป็นอาหาร

กระเป๋าหูรูด


“กระเป๋าหูรูด” ผลิตจากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีจากธรรมชาติ (สีเทาจากผลมะเกลือ) มีสายรูดเพื่อปิดปากกระเป๋า

กระเป๋าซาลาเปา


“กระเป๋าซาลาเปา” ผลิตจากผ้าฝ้าย ย้อมสีเส้นด้ายจากธรรมชาติ ทอสีน้ำตาล (สีน้ำตาลจากเปลือกต้นประดู่) และสีเทา (สีเทาจากผลมะเกลือ) ติดซิป

กระด้ง


“กระด้ง” ใช้ฝัดข้าว เพื่อแยกสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากเมล็ดข้าว เป็นเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ และเสริมความแข็งแรงบริเวณขอบกระด้งด้วยไม้ชงโคและผูกด้วยหวายเพิ่มความแข็งแรงและสวยงาม

การบูนไข่


การบูนไข่ เป็นการรักษาทางจิตใจ โดยมีหมอบูน เป็นสื่อกลาง โดยใช้ไข่และแม่กงในการบูน ข้าวสาร 1 ถ้วย ,หมาก 1 คํา และค่าครู

สมัยก่อนมักดูเรื่องอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ที่ได้รับ การรักษามาจากหมอแล้วไม่หาย จึงมาหาหมอบูนให้ เสี่ยงทายว่าถูกอะไรมาทัก

กะแตะ


กะแตะ เป็นของที่นําไปสะเดาะเคราะห์ในวันเลี้ยงเจ้าบ้าน โดยแต่ละบ้านจะจัดทํากะแตะของตนเอง ประกอบด้วย เงิน 12 ทอง 15 พริกเม็ด เกลือก้อน ลาบพล่าปลายํา ข้าวดําข้าวแดง ข้าวดําเป็นแสง ข้าว แดงเป็นมัน ซึ่งทั้งหมดปั้นจากดินเหนียว

ประเพณีก่อพระทรายตรุษสงกรานต์


ประเพณีก่อพระทรายในวันตรุษสงกรานต์ ใน ชุมชนไทยเบิ้งก็ยังคงมีประเพณีนี้อยู่เช่นเดียวกับชุมชนอื่นๆ โดยชาวบ้านมักจะพาคนในครอบครัวร่วมก่อพระทราย และตกแต่งดอกไม้ให้สวยงาม พร้อมกับทําบุญ ภายในวัดเพื่อขอพรให้โชคดี

ประเพณีเลี้ยงเจ้าบ้าน


ประเพณีเลี้ยงเจ้าบ้าน จัดขึ้นเป็นประจําในวันขึ้น 6 ค่ํา เดือน 6 ของทุกปี ที่ศาลพ่อหลวงเพ็ชร เพื่อขอ พรจากพ่อหลวงเพ็ชรให้มาปกปักรักษา อยู่ดีมีสุข ปราศจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งชาวบ้านแต่ละ ครอบครัวจะทํากะแตะ เพื่อไปส่งเป็นการสะเดาะ

กระจาด


  1. กระจาด ใช้ใส่ของที่จำเป็นในครัว เช่น หอม กระเทียม  คว่ำถ้วย จาน ชาม ฯ เป็นเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ 

หนองใหญ่


หนองใหญ่ หรือหนองนฤพัฒน์ผจง อยู่ในบริเวณ ด้านหลังพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง เดิมเคยเป็นแหล่ง น้ําสําคัญของชาวบ้าน สมัยก่อนน้ําใสมาก ชาวบ้านจึง มาหาบน้ําจากหนองใหญ่ไปดื่มและใช้ภายในครวั เรือน รวมทั้งหาปลา และปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆหนอง บริเวณหนองใหญ่พ

ศาลพ่อหลวงเพ็ชร


ศาลพ่อหลวงเพ็ชร ถือเป็นใจบ้านของชุมชน หมายถึงศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเบิ้งบ้าน โคกสลุง คนทุกเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนนี้ ต่างพากัน เคารพนับถือพ่อหลวงเพ็ชร

ศาลปู่ปะกำย่าปะกำ


ศาลปู่ปะกําย่าปะกํา เป็นเรื่องเล่าที่มีความเชื่อ ต่อๆ กันมาว่า หากบ้านไหนที่มีศาล แสดงว่ามีบรรพ บุรุษที่เคยเลี้ยงช้าง เป็นควาญช้าง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับช้าง โดยจะมีการจัดพิธีเซ่นไหว้ในทุกๆ ปี ซึ่ง เครื่องเซ่นนั้นคือวัวทั้งตัว (การล้มวัว เพื่อเป็

ร้านบาตร วัดโคกสำราญ


ร้านบาตร มีไว้สําหรับตั้งบาตรใส่ข้าวและน้ําของ พระสงฆ์ และพระพุทธ เพื่อให้ชาวบ้านสะดวกในการ ใส่บาตร ส่วนกับข้าวคาวหวานนั้น จะถูกจัดใส่จาน แยกแบ่งใส่ถาดไว้ต่างหาก

หอระฆัง วัดโคกสำราญ


หอระฆัง เป็นอาคารไม้จริงยกสูงตั้งอยู่บนเสาปูน ทรงสอบเข้า เพื่อสร้างความแข็งแรงในการรับน้ําหนัก หลังคาทรงจตุรมุข พบที่วัดโคกสําราญ

วัดโคกสำราญ (วัดใหญ่)


วัดโคกสำราญ เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดโคกสลุง สร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจได้แก่ โบสถ์เก่า และหอระฆัง โบสถ์เก่า เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกฐานสูง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ยุ้งข้าว


ยุ้งข้าว เป็นที่เก็บข้าวเปลือก สร้างจากโครงสร้าง ไม้จริงเพื่อรับน้ําหนักของข้าว วัสดุกรุผนังที่พบ ได้แก่ ฝาไม้ฟาก ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ และ ฝาไม้จริง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง เป็นเรือนฝาค้อ หลังคา ทรงจั่ว ใต้ถุนสูง จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตอีกด้วย

บ้านเก่า


บ้านเก่าส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นเรือนยกใตถุ้นสูง สร้างจากไม้จริง โดยมีเสาเรือนสร้างจากไม้ประดู่หรือ ไม้เต็ง เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งเหมาะที่จะใช้โครงสร้าง ที่ใช้รับน้ําหนัก ผนังเรือนและโครงสร้างหลังคามัก สร้างจากไม้ยาง ส่วนพื้นมักสร้างจากไม้มะค่าหร

ประเพณีแห่ดอกไม้


          ประเพณีแห่ดอกไม้เป็นประเพณีที่ทําสืบทอดกัน มานานของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง เป็นประเพณีที่ จัดขึ้นทุกปีช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยในแต่ละปี ชาวบ้านจะกําหนดวันแห่ดอกไม้ร่วมกัน เมื่อกําหนด วันแห่แน่ชัดแล้ว ชาวบ้านโคกสลุง

จุดชมวิวรางรถไฟลอยน้ำ


เขาพระยาเดินธง Top View ของโคกสลุง


ทอหูก ทอผ้าด้วยกี่มือโบราณ


     “การทอหูก” หรือการทอผ้ากี่โบราณ ภูมิปัญญา เก่าแก่ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ชาวไทยเบิ้งจะ เรียกการทอผ้าว่าการทอหูก ซึ่งลักษณะของการทอหูก คือการใช้กี่มือแบบโบราณเพื่อการถักทอผ้า เอกลักษณ์ ของหูกคือการติดตั้งโครงสร้าง

ใส่บาตรลูกอม


ประเพณีใส่บาตรลูกอมเป็นประเพณีของไทยเบิ้ง บ้านชาวโคกสลุง ประเพณีนี้ที่มีที่เดียวในประเทศไทย ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานานกว่า 80 ปี โดยจะจัดขึ้นช่วง แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เทศกาลออกพรรษาวันเดียวกับตักบาตรเทโวโรหณะ ในอดีตชาวบ้านจะกวนลูกอมกันเองโดยน

วัดโคกสำราญ สืบรอยอดีตโคกสลุง


สถานีรถไฟ


ครูภูมิปัญญา : นายจิตติ อนันสลุง

การทอผ้า


ความเป็นมา วิถีชีวิตของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง จากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นวิถีเรียบง่ายแบบชนบท มีขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาที่สั่งสมมายาวนานและสืบทอดจนถึงลูกหลาน แทบทุกครัวเรือนจะมีการทอผ้าด้วยกี่โบราณเรียกว่า “ทอหูก”ไว้ใต้ถุนบ้าน เพื่อไว้ใช้เอง เช่

การทอเสื่อกก


ความเป็นมา ในอดีตชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงมีความเป็นอยู่ที่ใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ จึงได้มีการคิดค้นเครื่องใช้ต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน ทอผ้า ทอเสื่อ ซึ่งล้วนเป็นงานศิลปหัตกรรมที่เป็นภูมิปัญญาสืบสานกันมา เสื่อกก เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนไ

ขนมเบื้องไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง


ความเป็นมา ขนมเบื้องเป็นขนมที่ชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง นิยมทำกินกันในครัวเรือน เป็นขนมที่ทำง่าย ในช่วงเวลายามว่าง หลังเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ทั้งลูกๆ พ่อ แม่ พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ ปู่ ย่าต่างก็เอร็ดอร่อยกับขนมเบื้อง ซึ่งกลายเป็นขนมประจำบ้านในทุกครัวเรือน

ของเล่นจากใบลาน


ความเป็นมา เป็นภูมิปัญญาทางศิลปกรรมการประดิษฐ์ของเล่นของชุมชน แต่ก่อนชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุงเป็นชุมชนที่อยู่กลางป่าเขาล้อมรอบ การเดินทางไปยังตัวอำเภอ จังหวัด ต้องเดินเท้า ใช้เวลา จึงพึ่งตัวเอง มีทักษะการใช้ชีวิตในป่า การทำของเล่นให้ลูกหลานจึงใช้ของที

พริกตะเกลือ


“พริกตะเกลือ” (พริกกับเกลือ) เครื่องจิ้มอเนกประสง์ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ประกอบไปด้วย พริกป่น กระเทียม ใบมะกรูด เกลือเม็ด และลูกกำจัด (สมุนไพรประจำถิ่นผลกลมขนาดใหญ่กว่าพริกไทยเล็กน้อย รสซ่า กลิ่นฉุนคล้ายมะกรูด) โขลกผสมให้เข้ากันพอดีสามารถนำไปรับป

พวงมะโหตร


ความเป็นมา งานตัดกระดาษเป็นผลงานศิลปกรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่ใช้ในงานเทศกาล เช่น กฐิน ผ้าป่า เทศน์มหาชาติ และงานบุญประเพณีต่างๆ เช่นงานบวช งานแต่ง เป็นเครื่องหมายแห่งความดี เป็นสัญลักษณ์ของความร่วมแรงร่วมใจ สมัยก่อนพระจะเป็นผู้สอนทำพวงมะโหตร ตกแต่งใน