พี่มืด


นายประทีป  อ่อนสลุง อายุ  56  ปี นักพัฒนาชุมชนอิสระ

ป้าโหร่


นางสม ตั้งสลุง อายุ  65  ปี ช่างทอผ้า อาหารพื้นบ้าน

ป้านาง


นางสาวประนอม  ยอดสลุง อายุ  66  ปี ช่างทอเสื่อ

ป้าทุเรียน


นางสาวทุเรียน สุขสลุง อายุ  62  ปี ช่างทอผ้า

ครูสุรชัย


นายสุรชัย เสือสูงเนิน อายุ  59  ปี  ประวัติศาสตร์ชุมชน

ลุงกะ


นายกะ ลำไยจร อายุ 72 ปี จักสาน ทำของเล่นจากใบลาน

นายพลั่ว ทำลานดี


นายพลั่ว ทำลานดี (ตาพลั่ว) เสียชีวิตแล้ว ครูภูมิปัญญาจักสาน

ยายหรึ่ม


นางหรึ่ม อ่อนสลุง อายุ 91 ปี เสียชีวิตแล้ว หมอบูนตะไกร (กรรไกร) เจ้าพิธีส่งตัวเข้าหอ งานแต่งงาน เรียกขวัญ รับขวัญ

ยายละมูล


นางละมูล  พูนหลำ อายุ 91 ปี เสียชีวิตแล้ว แม่เพลงพื้นบ้าน

ยายแยก


นางแยก สีสลุง อายุ 73 ปี เสียชีวิตแล้ว แม่เพลงรำโทน จักสาน หาของป่า

ยายตุ้น


นางตุ้น  สลุงอยู่ อายุ 90 ปี เสียชีวิตแล้ว แม่เพลงพื้นบ้าน ช่างทอผ้า จักสาน ทำสีข้าว

ลุงยง


นายยง  อนันต์สลุง อายุ 94 ปี  เสียชีวิตแล้ว ช่างจักสาน

หลวงพ่อชิ้น


พระอธิการชิ้น จุลปัญโญ (พระครูวิลาศคุณาธาร) มรณภาพแล้ว เจ้าอาวาสวัดโคกสำราญ เป็นพระที่เป็นศูนย์จิตใจของคนในชุมชน ชาวบ้านเคารพและศรัทธา

ต่างหูดอกแก้ว


“ต่างหูดอกแก้ว” ผลิตจากผ้าขาวม้า โดยใช้ทั้งผ้าขาวที่ทอจากด้ายโทเร หรือ ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ มีหลากสีให้เลือก

ของเล่นจากใบลาน มด


“มด” ของเล่นจากใบลาน สานจากใบลานแห้ง เป็นการสานสัตว์ตัวเล็กๆ สามารถนำไปประกอบเข้ากับชิ้นงานอื่นๆได้

ของเล่นจากใบลาน ผีเสื้อ


“ผีเสื้อ” ของเล่นจากใบลาน สานจากใบลานแห้ง สร้างสรรค์การสานรูปแบบใหม่ โดยอิงจากสัตว์ เล็กๆรอบตัว

ของเล่นจากใบลาน ปลาตะเพียน


“ปลาตะเพียน” สานจากใบลานแห้ง เป็นการสานขั้นพื้นฐานที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เนื่องจากมีกระบวนการสานที่ง่าย และไม่ซับซ้อนจนเกินไป เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ครูภูมิปัญญาจึงมักนำการสานปลาตะเพียน มาสอนถ่ายทอดให้กับคนที่เข้ามาเรียนรู้ ได้ลองฝึกมือกันในครั้งแร

ของเล่นจากใบลาน นก


“นก” สานจากใบลานแห้ง โดยการสานนกนั้น เป็นพื้นฐานการสาน ที่สามารถพบเห็นได้ในหลายถิ่น นอกจากนี้ นกยังเป็นทั้งอาหารหรือสัตว์เลี้ยงให้กับคนไทยเบิ้งอีกด้วย “นก” สานจากใบลานแห้ง โดยการสานนกนั้น เป็นพื้นฐานการสาน ที่สามารถพบเห็นได้ในหลายถิ่น นอกจาก

ของเล่นจากใบลาน งู


“งู” สานจากใบลานแห้ง เป็นของเล่นที่นอกจากจะสนุกแล้ว ยังซ่อนประโยชน์ไว้ สำหรับใช้นวดข้อมือ อีกทั้งยังใช้เป็นกลเล่นในการเสี่ยงทายว่า หากคู่รักคู่ไหนได้สวมใส่แล้ว ถ้าถอดนิ้วออกไม่ได้ แสดงว่า จะเป็นคู่รักที่อยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน

ของเล่นจากใบลาน แมลงชกมวย


“แมงชกมวย” สานจากใบลานแห้ง ซึ่งเราสามารถพบเห็นแมงชกมวยได้บ่อยครั้งในบริเวณบ้านของตนเอง

ของเล่นจากใบลาน แมงปอ


“แมงปอ” สานจากใบลานแห้ง เนื่องจากพื้นที่นี้ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงมักเห็นแมงปอฝูงใหญ่บินว่อนอยู่ให้เห็นทั่วไป

ของเล่นจากใบลาน เครื่องบิน


“เครื่องบิน” สานจากใบลานแห้ง ชาวไทยเบิ้ง มักเรียกว่า “ระบิน” หรือ “เรือบิน” ซึ่งลพบุรีนั้น มีค่ายทหารหลายค่าย และยังมีการซ้อมรบให้ได้ยินบ่อยครั้ง จึงมักพบเห็นเครื่องบิน บินผ่านไปมารอบบริเวณหมู่บ้าน

ของเล่นจากใบลาน ไก่


“ไก่” สานจากใบลานแห้ง เป็นการต่อยอดจากการสานนก โดยใช้วิธีการขึ้นต้นเหมือนกัน จากนั้นจึงปรับให้มีลักษณะที่แตกต่างออกไป เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับชิ้นงาน

ของเล่นจากใบลาน กิ้งก่า


“กิ้งก่า” สานจากใบลาน ซึ่งครูภูมิปัญญาได้คิดประดิษฐ์สัตว์ชนิดต่างๆ สร้างความแปลกตาให้แก่ลูกศิษย์และผู้พบเห็นทั่วไป

ของเล่นจากใบลาน กบ


กบของเล่นสานจากใบลานแห้ง ซึ่งกบ หรือที่คนไทยเบิ้งมักเรียกกันว่า “ไอ้เอ็บ” นั้น เป็นสัตว์ที่คนไทยเบิ้งนิยมรับประทาน โดยเฉพาะหน้าฝนนั้น คนที่นี่ มักจะพากันออกไปหากิน จับกบจับอึ่ง เพื่อนำกลับมาทำเป็นอาหาร

กระเป๋าหูรูด


“กระเป๋าหูรูด” ผลิตจากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีจากธรรมชาติ (สีเทาจากผลมะเกลือ) มีสายรูดเพื่อปิดปากกระเป๋า

กระเป๋าซาลาเปา


“กระเป๋าซาลาเปา” ผลิตจากผ้าฝ้าย ย้อมสีเส้นด้ายจากธรรมชาติ ทอสีน้ำตาล (สีน้ำตาลจากเปลือกต้นประดู่) และสีเทา (สีเทาจากผลมะเกลือ) ติดซิป

กระด้ง


“กระด้ง” ใช้ฝัดข้าว เพื่อแยกสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากเมล็ดข้าว เป็นเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ และเสริมความแข็งแรงบริเวณขอบกระด้งด้วยไม้ชงโคและผูกด้วยหวายเพิ่มความแข็งแรงและสวยงาม

การบูนไข่


การบูนไข่ เป็นการรักษาทางจิตใจ โดยมีหมอบูน เป็นสื่อกลาง โดยใช้ไข่และแม่กงในการบูน ข้าวสาร 1 ถ้วย ,หมาก 1 คํา และค่าครู

สมัยก่อนมักดูเรื่องอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ที่ได้รับ การรักษามาจากหมอแล้วไม่หาย จึงมาหาหมอบูนให้ เสี่ยงทายว่าถูกอะไรมาทัก

กะแตะ


กะแตะ เป็นของที่นําไปสะเดาะเคราะห์ในวันเลี้ยงเจ้าบ้าน โดยแต่ละบ้านจะจัดทํากะแตะของตนเอง ประกอบด้วย เงิน 12 ทอง 15 พริกเม็ด เกลือก้อน ลาบพล่าปลายํา ข้าวดําข้าวแดง ข้าวดําเป็นแสง ข้าว แดงเป็นมัน ซึ่งทั้งหมดปั้นจากดินเหนียว

ประเพณีก่อพระทรายตรุษสงกรานต์


ประเพณีก่อพระทรายในวันตรุษสงกรานต์ ใน ชุมชนไทยเบิ้งก็ยังคงมีประเพณีนี้อยู่เช่นเดียวกับชุมชนอื่นๆ โดยชาวบ้านมักจะพาคนในครอบครัวร่วมก่อพระทราย และตกแต่งดอกไม้ให้สวยงาม พร้อมกับทําบุญ ภายในวัดเพื่อขอพรให้โชคดี

ประเพณีเลี้ยงเจ้าบ้าน


ประเพณีเลี้ยงเจ้าบ้าน จัดขึ้นเป็นประจําในวันขึ้น 6 ค่ํา เดือน 6 ของทุกปี ที่ศาลพ่อหลวงเพ็ชร เพื่อขอ พรจากพ่อหลวงเพ็ชรให้มาปกปักรักษา อยู่ดีมีสุข ปราศจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งชาวบ้านแต่ละ ครอบครัวจะทํากะแตะ เพื่อไปส่งเป็นการสะเดาะ

กระจาด


  1. กระจาด ใช้ใส่ของที่จำเป็นในครัว เช่น หอม กระเทียม  คว่ำถ้วย จาน ชาม ฯ เป็นเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ 

หนองใหญ่


หนองใหญ่ หรือหนองนฤพัฒน์ผจง อยู่ในบริเวณ ด้านหลังพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง เดิมเคยเป็นแหล่ง น้ําสําคัญของชาวบ้าน สมัยก่อนน้ําใสมาก ชาวบ้านจึง มาหาบน้ําจากหนองใหญ่ไปดื่มและใช้ภายในครวั เรือน รวมทั้งหาปลา และปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆหนอง บริเวณหนองใหญ่พ

ศาลพ่อหลวงเพ็ชร


ศาลพ่อหลวงเพ็ชร ถือเป็นใจบ้านของชุมชน หมายถึงศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเบิ้งบ้าน โคกสลุง คนทุกเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนนี้ ต่างพากัน เคารพนับถือพ่อหลวงเพ็ชร

ศาลปู่ปะกำย่าปะกำ


ศาลปู่ปะกําย่าปะกํา เป็นเรื่องเล่าที่มีความเชื่อ ต่อๆ กันมาว่า หากบ้านไหนที่มีศาล แสดงว่ามีบรรพ บุรุษที่เคยเลี้ยงช้าง เป็นควาญช้าง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับช้าง โดยจะมีการจัดพิธีเซ่นไหว้ในทุกๆ ปี ซึ่ง เครื่องเซ่นนั้นคือวัวทั้งตัว (การล้มวัว เพื่อเป็

ร้านบาตร วัดโคกสำราญ


ร้านบาตร มีไว้สําหรับตั้งบาตรใส่ข้าวและน้ําของ พระสงฆ์ และพระพุทธ เพื่อให้ชาวบ้านสะดวกในการ ใส่บาตร ส่วนกับข้าวคาวหวานนั้น จะถูกจัดใส่จาน แยกแบ่งใส่ถาดไว้ต่างหาก

หอระฆัง วัดโคกสำราญ


หอระฆัง เป็นอาคารไม้จริงยกสูงตั้งอยู่บนเสาปูน ทรงสอบเข้า เพื่อสร้างความแข็งแรงในการรับน้ําหนัก หลังคาทรงจตุรมุข พบที่วัดโคกสําราญ

วัดโคกสำราญ (วัดใหญ่)


วัดโคกสำราญ เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดโคกสลุง สร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจได้แก่ โบสถ์เก่า และหอระฆัง โบสถ์เก่า เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกฐานสูง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ยุ้งข้าว


ยุ้งข้าว เป็นที่เก็บข้าวเปลือก สร้างจากโครงสร้าง ไม้จริงเพื่อรับน้ําหนักของข้าว วัสดุกรุผนังที่พบ ได้แก่ ฝาไม้ฟาก ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ และ ฝาไม้จริง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง เป็นเรือนฝาค้อ หลังคา ทรงจั่ว ใต้ถุนสูง จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตอีกด้วย

บ้านเก่า


บ้านเก่าส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นเรือนยกใตถุ้นสูง สร้างจากไม้จริง โดยมีเสาเรือนสร้างจากไม้ประดู่หรือ ไม้เต็ง เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งเหมาะที่จะใช้โครงสร้าง ที่ใช้รับน้ําหนัก ผนังเรือนและโครงสร้างหลังคามัก สร้างจากไม้ยาง ส่วนพื้นมักสร้างจากไม้มะค่าหร

ประเพณีแห่ดอกไม้


          ประเพณีแห่ดอกไม้เป็นประเพณีที่ทําสืบทอดกัน มานานของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง เป็นประเพณีที่ จัดขึ้นทุกปีช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยในแต่ละปี ชาวบ้านจะกําหนดวันแห่ดอกไม้ร่วมกัน เมื่อกําหนด วันแห่แน่ชัดแล้ว ชาวบ้านโคกสลุง

จุดชมวิวรางรถไฟลอยน้ำ


เขาพระยาเดินธง Top View ของโคกสลุง


ทอหูก ทอผ้าด้วยกี่มือโบราณ


     “การทอหูก” หรือการทอผ้ากี่โบราณ ภูมิปัญญา เก่าแก่ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ชาวไทยเบิ้งจะ เรียกการทอผ้าว่าการทอหูก ซึ่งลักษณะของการทอหูก คือการใช้กี่มือแบบโบราณเพื่อการถักทอผ้า เอกลักษณ์ ของหูกคือการติดตั้งโครงสร้าง

ใส่บาตรลูกอม


ประเพณีใส่บาตรลูกอมเป็นประเพณีของไทยเบิ้ง บ้านชาวโคกสลุง ประเพณีนี้ที่มีที่เดียวในประเทศไทย ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานานกว่า 80 ปี โดยจะจัดขึ้นช่วง แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เทศกาลออกพรรษาวันเดียวกับตักบาตรเทโวโรหณะ ในอดีตชาวบ้านจะกวนลูกอมกันเองโดยน

วัดโคกสำราญ สืบรอยอดีตโคกสลุง


สถานีรถไฟ


ครูภูมิปัญญา : นายจิตติ อนันสลุง

การทอผ้า


ความเป็นมา วิถีชีวิตของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง จากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นวิถีเรียบง่ายแบบชนบท มีขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาที่สั่งสมมายาวนานและสืบทอดจนถึงลูกหลาน แทบทุกครัวเรือนจะมีการทอผ้าด้วยกี่โบราณเรียกว่า “ทอหูก”ไว้ใต้ถุนบ้าน เพื่อไว้ใช้เอง เช่

การทอเสื่อกก


ความเป็นมา ในอดีตชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงมีความเป็นอยู่ที่ใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ จึงได้มีการคิดค้นเครื่องใช้ต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักสาน ทอผ้า ทอเสื่อ ซึ่งล้วนเป็นงานศิลปหัตกรรมที่เป็นภูมิปัญญาสืบสานกันมา เสื่อกก เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนไ

ขนมเบื้องไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง