ต้มปลาย่างใบมะขามอ่อน


ต้มปลาย่างใบมะขามอ่อน เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงที่สืบทอดกันมานาน เป็นภูมิปัญญาด้านการอาหารอย่างหนึ่งของชาวไทยเบิ้ง วิธีการทำแสนง่ายดายดังนี้ เตรียมเครื่องต้มใส่หม้อตั้งไฟ ประกอบไปด้วย ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง กระเทียม และกระชาย

พวงกุญแจ หนู


พวงกุญแจหนู ผลิตจากผ้าขาวม้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ใช้เทคนิคการเย็บด้วยมือ ที่ถูกสร้างสรรค์ให้มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น

พวงกุญแจ ลิง


พวงกุญแจรูปลิง ผลิตจากผ้าขาวม้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ใช้เทคนิคการเย็บมือ ซึ่งลิงนั้น นับเป็นสัตว์ที่บ่งบอกถึงจังหวัดได้อย่างชัดเจน

พวงกุญแจ ดอกทิวลิป


พวงกุญแจดอกทิวลิป ใช้เทคนิคการเย็บมือโดยใช้ผ้าขาวม้าเป็นวัสดุหลัก เนื่องจากผ้าขาวม้าบางส่วนได้นำไปตัดเย็บเสื้อผ้า หรือของใช้ชิ้นใหญ่ต่างๆ ผ้าผืนเล็กจึงเหมาะสำหรับงานชิ้นเล็ก เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ข้าวต้มลูกโยน


ใบลานอ่อน ข้าวเหนียวใหม่อย่างดี มะพร้าวทึนทึกขูด เกลือ และกล้วยน้ำว้าสุกงอม ทำ"ข้าวต้มลูกโยน" ข้าวต้มมัดโบราณ ใช้เวลาต้มนานเพื่อเปลี่ยนเนื้อกล้วยสีขาวเหลืองให้กลายเป็นสีชมพูสวยและหวานอร่อย “ข้าวต้มลูกโยน” วัฒนธรรมการใช้ใบ

พวงกุญแจของเล่น ตะกร้า


“พวงกุญแจตะกร้า” สานจากตอกไม้ไผ่ เนื่องจากคนไทยเบิ้งมักไปทำบุญ ทั้งตักบาตรหน้าบ้าน หรือ ไปทำบุญที่วัดทุกวัน จึงนิยมจักสานตะกร้าไว้หลายแบบ สำหรับใส่ของทำบุญ รวมถึงใส่หมากพลู และใส่ของจำเป็นต่างๆอีกด้วย

ขนมเบื้อง


ขนมเบื้อง แต่เดิมเรียกว่า ขนมคนจน เนื่องจากมีส่วนผสมที่น้อย คือ ข้าวสารที่นำไปโม่ ผสมน้ำ เกลือ ปัจจุบันได้ถูกปรับสูตรจนขนมหวานที่ได้รสชาติเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น ด้วยการใส่ ไข่ไก่ กะทิ น้ำตาล และเพิ่มสีสันด้วยใบเตยหรือดอกอัญชัน เมื่อผสมได้ที่แล้วจึง

พวงกุญแจของเล่น ไซ


สานจากตอกไม้ไผ่ เป็นไซ เครื่องมือจับปลาคู่บ้านชาวไทยเบิ้ง อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า มีไว้สำหรับดักเงินดักทองเข้ากระเป๋า

พวงกุญแจของเล่น สุ่ม


สานจากไม้ไผ่ จากเครื่องมือจับปลาขนาดเล็ก พกพาง่าย แสดงถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตประมงของคนไทยเบิ้ง

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน หมอน


ผลิตจากใบลานแห้งสานจำลองจากหมอนของเล่นร้อยสลับ ลูกปัดไม้เป็นพวงกุญแจ

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน สับปะรด


ผลิตจากใบลานแห้งสานจำลองจากสับปะรดของเล่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับงานสาน

แกงป่าเนื้อปลากราย เผ็ดร้อนซ่า


อาหารที่ชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงนิยมทำรับประทานเป็นประจำคือเมนูที่ทำจากเนื้อปลา เนื่องจากที่ตั้งของชุมชนอยู่ติดกับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลานานาชนิด แกงป่าเนื้อปลากราย เมนูเด็ด เผ็ดร้อน เครื่องแกงประกอบไปด้วย ข่า ตะไคร้ กระชาย ใบมะก

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ปู


ผลิตจากใบลานแห้งสานเป็นของเล่นปู ขนาดเล็ก ปูบอกเล่าถึงวิถีการกินของคนที่นี่ ในช่วงฤดูหลังเก็บเกี่ยวข้าว คนที่นี่ นิยมพากันขุดปูในนา เพื่อนำมาทำอาหารรสเลิศ อย่าง หลนปู เป็นต้น

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ปลา


ผลิตจากใบลานแห้งที่สานย่อส่วนจากของเล่นปลาตะเพียน ซึ่งการสานของเล่นปลาตะเพียนนั้นได้สื่อถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งในภูมิปัญญาที่ได้ถ่ายทอดให้แก่บุคคลที่เข้ามาเรียนรู้ภายในชุมชน

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน นกบนฝักข้าวโพด


ผลิตจากใบลานแห้งสานย่อสวนจากของเล่น นกบนฝักข้าวโพด ใช้ในการเล่าเรื่อง โดยเปรียบเป็นนกนางแอ่น ที่บินเข้ามาหากินในหมู่บ้านโคกสลุง จึงมาพบกับแหล่งน้ำขนาดใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง แม่น้ำป่าสัก จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จึงได้ทำรังอย

แกงไข่น้ำ ออร์แกนนิค


“ไข่น้ำ” พืชน้ำขนาดเล็กลอยบนผิวน้ำบริเวณน้ำนิ่งและสะอาด  มีลักษณะกลมคล้ายไข่ปลา   ชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงรู้จักนำไข่น้ำมาทำอาหารตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยนำมาทำแกงไข่น้ำ  การที่มีไข่น้ำให้ซ้อนมาทำอาหารได้จึงบ่งบอกว่

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน นกบนดอกทานตะวัน


ผลิตจากใบลานแห้งด้วยเทคนิคการสานย่อส่วนจากของเล่น ประกอบนกเข้าด้วยกันกับดอกทานตะวันเป็นพวงกุญแจ สื่อถึงนกช่วงทุ่งดอกทานตะวันบานในฤดูหนาว ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของลพบุรี

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ทุเรียน


ผลิตจากใบลานแห้งสานจำลองจากของเล่นผลทุเรียน ที่ครูภูมิปัญญาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจากต่างถิ่น นำมาปรับเป็นของตนเองให้หลากหลายขนาด ขนาดใหญ่สามารถนำไปประดิษฐ์เป็นโคมไฟได้ และย่อส่วนให้มีขนาดเล็กเหมาะสำหรับเป็นพวงกุญแจ

กระเป๋าซิป


ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ย้อมสีธรรมชาติ สีฟ้าจากใบคราม สีน้ำตาลจากเปลือกประดู่ สีชมพูจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม และน้ำตาลเทาจากใบยูคาลิปตัส ทรงเหลี่ยม ติดซิป

อีแอบ


“อีแอบ” สานจากไม้ไผ่ ใช้ดักกบ

กระเป๋าอเนกประสงค์สายรูด


ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ย้อมสีธรรมชาติ สีฟ้าจากใบคราม สีน้ำตาลจากเปลือกประดู่ สีชมพูจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม และน้ำตาลเทาจากใบยูคาลิปตัส ทรงสี่เหลี่ยม ติดสายรูดเพื่อปิดปากกระเป๋า

กระเป๋าผ้าพับครึ่งอเนกประสงค์


ผลิตจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ สีฟ้าจากใบคราม สีเทาจากผลมะเกลือ

สุ่มปลา


“สุ่มปลา” สานจากไม้ไผ่แก่ ใช้เป็นเครื่องมือจับปลา

สาแหรก


“สาแหรก” ทำจากหวาย ทำจากต้นคล้า หรือจากไม้ไผ่อ่อน ใช้หาบกล้าข้าว หาบไม้ฟืน หรือใช้ร่วมกับตะกร้าเพื่อหาบของ

สับฟาก


“สับฟาก” ใช้ไม้ไผ่แก่จัดลำใหญ่เฉาะตามยาวบริเวณข้อของไม้ไผ่ตลอดทั้งลำที่ตัดไว้ หลังจากนั้นจึงผ่าเพียงด้านเดียวและคลี่ออกเป็นแผ่น และถากเนื้อไผ่ด้านในที่อ่อนออกเพื่อความสวยงามและความแข็งแรงในขณะเดียวกันก็เป็นการกำจัดเนื้อไผ่ที่สามารถเป็น

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ดอกทานตะวัน


“พวงกุญแจ” ทำจากใบลานแห้งสานเป็นรูปดอกทานตะวันขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มความสวยงาม และหลากหลากให้กับผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา

ต่างหูของเล่นจากแหวน


“ต่างหู” สานจากใบลานแห้งย่อส่วนจากของเล่นแหวน มีการปรับขนาดให้ใหญ่ หรือชิดกันมากขึ้น เพื่อให้มีรูปแบบและขนาดที่ต่างกัน

ต่างหู ของเล่นจากหมอน


“ต่างหู” ทำจากใบลานแห้งสานย่อส่วนหมอนให้มีขนาดเล็กลง ประดับด้วยลูกปัดหลากสี เพิ่มความน่ารัก

ต่างหูของเล่น สับปะรด


“ต่างหู” สานจากใบลานแห้งย่อส่วนของเล่นสับปะรดให้มีขนาดเล็กลง มีลักษณะปลายแหลมเรียวลงมา ดูสวยแปลกตา

ต่างหู ของเล่นลูกยาง


“ต่างหู” ผลิตจากใบลานแห้งสานย่อส่วนจากของเล่นลูกยาง ซึ่งในชุมชนไทยเบิ้งนั้น มีต้นยางนาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณป่า

เรือนฝาค้อ บ้านโคกสลุง


“ฝาค้อ” ฝาเรือนของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ที่กรุด้วยใบค้อ

ต่างหูของเล่น ดอกทานตะวัน


“ต่างหู” ผลิตจากของเล่นทานตะวันที่สานจากใบลานแห้ง ไอเดียจากทุ่งทานตะวัน ที่นับเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของจังหวัดลพบุรี ที่นักท่องเที่ยวมักนิยมเข้ามาเยี่ยมชม

ต่างหูของเล่น ข้าวโพด


“ต่างหู” ผลิตจากใบลานแห้ง ย่อส่วนจากของเล่นข้าวโพด มีลักษณะปลายแหลมเรียวขึ้นไป รัดเรียงสวยงาม

ผ้าขาวม้าตาสองลอน


ผ้าขาวม้า ตาสอนลอน เป็นการออกแบบลวดลายเรียงต่อกันเป็นคู่ โดยมีคิ้วผ่ากลาง มีขนาดของตาที่แคบ ทำเป็น 2 ช่อง ซ้ำกันตลอดทั้งผืน

ผ้าขาวม้าตาราย


ผ้าขาวม้าตาราย มีลักษณะลวดลายที่ได้จากการใช้เส้นด้ายหลากสี ในจำนวนเท่าๆ กัน มายืนเรียงรายต่อกันทั้งผืน

ผ้าขาวม้าตาแปะ


ผ้าขาวม้าตาแปะ มีลักษณะของลวดลายที่ใช้เส้นด้ายมาเรียงต่อกัน 2 สี ให้มีขนาดช่องเท่า ๆ กันทั้งผืน โดยไม่มีคิ้ว

ผ้าขาวม้าตาเดี่ยว


ผ้าขาวม้าตาเดี่ยว มีลักษณะลวดลายผ้าที่ใช้สีของเส้นด้ายไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 สี จึงทำให้ลักษณะของลวดลายผ้ามีตาที่ห่างกัน

ข้าวสาร


“ข้าวสาน” ข้าวอินทรีย์ชั้นดี ปลูกด้วยกระบวนการปลอดสารพิษ

ต่างหูของเล่น ตะกร้อ


“ต่างหู” ผลิตจากใบลานแห้งที่สานเลียนแบบของเล่นตะกร้อ เป็นการสานต่อกันให้เป็นทรงกลม มีลวดลายคล้ายกับลูกตะกร้อ ประดับเพิ่มด้วยลูกปัดหลากสี

กระเตง


“กระเตง” สานจากไม้ไผ่มีลักษณะคล้ายกระบุงแต่มีหูหิ้ว หูหิ้วนิยมทำจากหวายเพื่อความแข็งแรง ใช้ใส่ของเพื่อไปทำพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่วัด

กะชัง


“กะชัง” ใช้ขังปลาเป็นที่มีขนาดใหญ่ ใช้ประกอบการหาปลาซึ่งสามารถขังปลาและแช่ในแหล่งน้ำเพื่อให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน

กระบุง


“กระบุง” สานจากไม้ไผ่ ส่วนประกอบของกระบุงประกอบด้วย ปากกระบุง(ส่วนบน) ตัวกระบุง หูกระบุง (ใช้ร้อยสายเพื่อหาบ) และก้นของกระบุง ประโยชน์ของกระบุงใช้หาบข้าว หาบของต่างๆ สารพัดประโยชน์ หรือใช้แขวนเก็บอาหารในครัว

กระบอกน้ำ


“กระบอกน้ำ” ทำจากไม้ไผ่ลำใหญ่ความยาวประมาณ ๒ ปล้อง มีสายสะพายที่ทำจากเถาของไม้เลื้อยที่มีความเหนียว ใช้ใส่น้ำเพื่อดื่มเวลาเดินทางไกล หรือในฤดูที่ไปทำนา ทำไร

ไห


“ไห” ภาชนะดินเผาใช้หมักปลาร้า และทำของหมักดองต่าง ๆ

ไนปั่นฝ้าย


“ไน” เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทอผ้า ทำหน้าที่สองอย่างคือ ปั่นฝ้าย และกรีดหลอดด้าย (การนำเส้นด้ายเข้าหลอด)

ไซ


“ไซ” เครื่องมือดักปลาเล็ก ตามช่องน้ำไหล ในฤดูน้ำหลาก หรือน้ำแล่น สานจากไม้ไผ่ มีงาสองด้าน จึงสามารถดักได้ทั้งปลาขึ้น และปลาลง

แง


“แง” ภาชนะดินเผา ใช้หมักปลาจ่อม หรือ ใส่เกลือเม็ดเก็บไว้ประกอบอาหารในครัว

เครื่องหีบฝ้าย


เครื่องหีบฝ้าย ใช้แยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย ด้วยวิธีการหมุน

กระโล่


“กระโล่” ของใช้อเนกประสงค์จักสานจากไม้ไผ่ ใช้ตากปลา ธัญพืช และทำสำรับอาหาร

ข้อง


“ข้อง” หรือตะข้อง สานจากไม้ไผ่ด้วยความประณีต เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้ใส่ปลา ใส่อึ่ง ใส่กบ เขียด “ข้อง” มีส่วนประกอบดังนี้  ส่วนก้นสานด้วยลายสานห่าง ๆ ส่วนตัวของข้องสานด้วยลวดลายที่ละเอียดเพิ่มความแข็งแรง ส่วนปากของข้องเรียก

ตะแกรงใหญ่


“ตะแกรงใหญ่” สานจากไม้ไผ่ ใช้เป็นเครื่องมือจับปลา จับกุ้ง ด้วยวิธีการซ้อน บางโอกาสใช้ตากปลาเค็ม ปลาย่าง ฯลฯ

ตะแกรงเล็ก


“ตะแกรงเล็ก” สานจากไม้ไผ่ ทำหน้าที่กรองแยกวัตถุออกจากของเหลว

ตะกร้าไผ่ใส่ของ


ตะกร้าใส่ของ” ทำจากไม้ไผ่สานเป็นลายขัดแบบง่าย ใช้ใส่พืชผลทางการเกษตรและหาบเมื่อใช้ร่วมกับสาแหรก

จู๋


“จู๋” ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะคล้ายไห แตกต่างกันที่บริเวณปาก ซึ่งจู๋จะมีขนาดของปากที่เล็กกว่า นิยมใช้เป็นภาชนะหมักดองเพื่อเป็นการถนอมอาหารประเภทต่าง ๆ

หนิก


“หนิก” ทำหน้าที่ คล้ายโปง เกราะ และกะดึง แต่มีความแตกต่างที่ระบบการเกิดเสียง คือ เกิดจากการกระทบของลูกหนิกด้านนอก นิยมทำจากไม้ไผ่ อาจมีความงามที่เกิดจากลวดลายการแกะสลัก

เกราะ


“เกราะ” ทำหน้าที่คล้ายโปง แต่มีขนาดเล็กกว่า

กะดึง


“กะดึง” ทำจากโลหะชนิดทองเหลือง มีแกนกลางสั่นส่งเสียงดังกังวาน นิยมใช้คล้องคอวัว หากเป็นวัวตัวที่เจ้าของรักก็จะมีการถักสายห้อยกระดึงอย่างสวยงามเป็นการบ่งบอกฐานะทางสังคมของเจ้าของวัวอีกด้วย

โปง


“โปง” ทำจากไม้จริงเนื้ออ่อน เซาะร่องกว้างตรงกลางเหลือบริเวณขอบโดยรอบเพื่อให้เกิดช่องว่าง และใส่แกนเหล็กเพื่อร้อยแท่งไม้ตามขวางหลวม ๆ สามารถแกว่งไกวกระทบกับตัวโปงเพื่อให้เกิดเสียงดัง ใช้คล้องคอวัว ควาย

สอนตัดดอกไม้กระดาษ


ดอกไม้กระดาษ ใช้สําหรับประเพณีแห่ดอกไม้ ที่มี การรื้อฟื้นนํากลับมาใหม่ในปัจจุบัน การทําดอกไม้ กระดาษมีวิธีการทําที่ง่าย และมีการสอนให้แก่คนรุ่น ใหม่และนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้

กิจกรรมนั่งรถอิแลนแตนชมหมู่บ้าน


รถอีแลนแตน หรือ รถอีต๊อก เป็นพาหนะคู่ใจของ ชาวนาชาวไร่ในชุมชนโคกสลุงที่ยังคงมีใช้กันอยู่ทั่วไป ภายในหมู่บ้าน ปัจจุบันมีให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้ นั่งรถชนิดนี้ชมหมู่บ้านและความงามของพนังกั้นน้ํา

สอนปั่นฝ้าย


การปั่นฝ้ายเป็นภูมิปัญญาที่คนแต่ก่อนนําปยุฝ้าย มาค่อยๆปั่นจนเป็นเส้นด้าย แล้วจึงนํามาใช้ทอผ้า ทักษะนี้ต้องฝึกจนชํานาญ ด้วยความยากการปั่นฝ้าย จึงค่อยๆหายไปจากชุมชน ในปัจจุบันมีผู้ที่ปั่นฝ้าย เป็นได้น้อย จึงมีการสอนสอนปั่นฝ้ายให้กับเด็กและ เยาวชนที่

สอนตัดพวงมะโหตร


พวงมะโหตร เป็นการตัดกระดาษ สําหรับตกแต่ง ในงานมงคลต่างๆ ที่สืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งปัจจุบัน ยังคงมีการสอนให้แก่เด็กเยาวชน หรือแก่ผู้ที่สนใจ ทั่วไป วิธีการพับและตัดอาจดูง่ายไม่ซับซ้อน แต่หาก ไม่มีสติ หรือพลาดเพียงนิด ก็อาจจะต้องเริ่มต้นงานชิ้น ใหม่ได

การย้อมด้ายจากสีธรรมชาติ


การย้อมด้ายจากสีธรรมชาตินั้น เป็นภูมิปัญญาที่ ได้ถูกนํากลับมารื้อฟื้นใหม่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังได้รับ ความนิยมมากอีกด้วย โดยมีการจัดกิจกรรม เพื่อให้ ช่างทอภายในชุมชน เข้ามาเรียนรู้วิธีการย้อมผ้าจาก วัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่รอบๆ ตัว และนําทักษะที่ได

ค่ายเมล็ดข้าวเปลือก


กิจกรรมค่ายเยาวชน จัดขึ้นเพื่อให้เด็ก ๆ ภายใน ชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนไทยเบิ้ง โคกสลุง เพื่อให้ซึมซับวิถีดั้งเดิมของตน รวมไปถึง พัฒนาศักยภาพของเด็ก และเพื่อให้เด็กเห็นคุณค่า ภายในของตนเอง จากนั้นจึงคัดเลือกเด็กที่มีจิตอาสา และชอ

ลุงหมั่น


นายหมั่น  สำราญสลุง อายุ  80  ปี  เสียชีวิตแล้ว หมอเป่า หมอพ่น หมอน้ำมนต์ จักสาน

ลุงสุข


นายสุข  เกิดสลุง อายุ  77  ปี ช่างแกะสลัก ไม้ งาช้าง กะลาตาเดียว ช่างเขียนโบสถ์ ช่างตัดกระดาษ ช่างตอกกระดาษ ครูภูมิปัญญาด้านกลองยาว

ยายเล็ก


นางเล็ก  สีสลุง อายุ 72  ปี แม่เพลงพื้นบ้าน นางเอกลิเกพื้นบ้าน จักสาน หาของป่า

ยายระหาร


นางระหาร กันสลุง อายุ  78  ปี แม่เพลงพื้นบ้าน นางรำ อาหารพื้นบ้าน

ยายคี


นางคี ขุนจัตุรัส อายุ  90  ปี  เสียชีวิตแล้ว ช่างทอผ้า

แม่ใหญ่ฉ่า


นางฉ่า  ยอดสลุง อายุ  88  ปี ช่างจักสาน ช่างทอผ้า ช่างทอเสื่อ นักเล่าเรื่อง

แม่ใหญ่ขาม


นางขาม  สีสลุง อายุ  91  ปี เสียชีวิตแล้ว เพลงพื้นบ้าน

แม่แหน


นางแหน  อ่อนสลุง อายุ  93  ปี ช่างทอผ้า

พี่มืด


นายประทีป  อ่อนสลุง อายุ  56  ปี นักพัฒนาชุมชนอิสระ

ป้าโหร่


นางสม ตั้งสลุง อายุ  65  ปี ช่างทอผ้า อาหารพื้นบ้าน

ป้านาง


นางสาวประนอม  ยอดสลุง อายุ  66  ปี ช่างทอเสื่อ

ป้าทุเรียน


นางสาวทุเรียน สุขสลุง อายุ  62  ปี ช่างทอผ้า

ครูสุรชัย


นายสุรชัย เสือสูงเนิน อายุ  59  ปี  ประวัติศาสตร์ชุมชน

ลุงกะ


นายกะ ลำไยจร อายุ 72 ปี จักสาน ทำของเล่นจากใบลาน

นายพลั่ว ทำลานดี


นายพลั่ว ทำลานดี (ตาพลั่ว) เสียชีวิตแล้ว ครูภูมิปัญญาจักสาน

ยายหรึ่ม


นางหรึ่ม อ่อนสลุง อายุ 91 ปี เสียชีวิตแล้ว หมอบูนตะไกร (กรรไกร) เจ้าพิธีส่งตัวเข้าหอ งานแต่งงาน เรียกขวัญ รับขวัญ

ยายละมูล


นางละมูล  พูนหลำ อายุ 91 ปี เสียชีวิตแล้ว แม่เพลงพื้นบ้าน

ยายแยก


นางแยก สีสลุง อายุ 73 ปี เสียชีวิตแล้ว แม่เพลงรำโทน จักสาน หาของป่า

ยายตุ้น


นางตุ้น  สลุงอยู่ อายุ 90 ปี เสียชีวิตแล้ว แม่เพลงพื้นบ้าน ช่างทอผ้า จักสาน ทำสีข้าว

ลุงยง


นายยง  อนันต์สลุง อายุ 94 ปี  เสียชีวิตแล้ว ช่างจักสาน

หลวงพ่อชิ้น


พระอธิการชิ้น จุลปัญโญ (พระครูวิลาศคุณาธาร) มรณภาพแล้ว เจ้าอาวาสวัดโคกสำราญ เป็นพระที่เป็นศูนย์จิตใจของคนในชุมชน ชาวบ้านเคารพและศรัทธา

ต่างหูดอกแก้ว


“ต่างหูดอกแก้ว” ผลิตจากผ้าขาวม้า โดยใช้ทั้งผ้าขาวที่ทอจากด้ายโทเร หรือ ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ มีหลากสีให้เลือก

ของเล่นจากใบลาน มด


“มด” ของเล่นจากใบลาน สานจากใบลานแห้ง เป็นการสานสัตว์ตัวเล็กๆ สามารถนำไปประกอบเข้ากับชิ้นงานอื่นๆได้

ของเล่นจากใบลาน ผีเสื้อ


“ผีเสื้อ” ของเล่นจากใบลาน สานจากใบลานแห้ง สร้างสรรค์การสานรูปแบบใหม่ โดยอิงจากสัตว์ เล็กๆรอบตัว

ของเล่นจากใบลาน ปลาตะเพียน


“ปลาตะเพียน” สานจากใบลานแห้ง เป็นการสานขั้นพื้นฐานที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เนื่องจากมีกระบวนการสานที่ง่าย และไม่ซับซ้อนจนเกินไป เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ครูภูมิปัญญาจึงมักนำการสานปลาตะเพียน มาสอนถ่ายทอดให้กับคนที่เข้ามาเรียนรู้ ได้ลองฝึกมือกันในครั้งแร

ของเล่นจากใบลาน นก


“นก” สานจากใบลานแห้ง โดยการสานนกนั้น เป็นพื้นฐานการสาน ที่สามารถพบเห็นได้ในหลายถิ่น นอกจากนี้ นกยังเป็นทั้งอาหารหรือสัตว์เลี้ยงให้กับคนไทยเบิ้งอีกด้วย “นก” สานจากใบลานแห้ง โดยการสานนกนั้น เป็นพื้นฐานการสาน ที่สามารถพบเห็นได้ในหลายถิ่น นอกจาก

ของเล่นจากใบลาน งู


“งู” สานจากใบลานแห้ง เป็นของเล่นที่นอกจากจะสนุกแล้ว ยังซ่อนประโยชน์ไว้ สำหรับใช้นวดข้อมือ อีกทั้งยังใช้เป็นกลเล่นในการเสี่ยงทายว่า หากคู่รักคู่ไหนได้สวมใส่แล้ว ถ้าถอดนิ้วออกไม่ได้ แสดงว่า จะเป็นคู่รักที่อยู่ด้วยกันอย่างยั่งยืน

ของเล่นจากใบลาน แมลงชกมวย


“แมงชกมวย” สานจากใบลานแห้ง ซึ่งเราสามารถพบเห็นแมงชกมวยได้บ่อยครั้งในบริเวณบ้านของตนเอง

ของเล่นจากใบลาน แมงปอ


“แมงปอ” สานจากใบลานแห้ง เนื่องจากพื้นที่นี้ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงมักเห็นแมงปอฝูงใหญ่บินว่อนอยู่ให้เห็นทั่วไป

ของเล่นจากใบลาน เครื่องบิน


“เครื่องบิน” สานจากใบลานแห้ง ชาวไทยเบิ้ง มักเรียกว่า “ระบิน” หรือ “เรือบิน” ซึ่งลพบุรีนั้น มีค่ายทหารหลายค่าย และยังมีการซ้อมรบให้ได้ยินบ่อยครั้ง จึงมักพบเห็นเครื่องบิน บินผ่านไปมารอบบริเวณหมู่บ้าน

ของเล่นจากใบลาน ไก่


“ไก่” สานจากใบลานแห้ง เป็นการต่อยอดจากการสานนก โดยใช้วิธีการขึ้นต้นเหมือนกัน จากนั้นจึงปรับให้มีลักษณะที่แตกต่างออกไป เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับชิ้นงาน

ของเล่นจากใบลาน กิ้งก่า


“กิ้งก่า” สานจากใบลาน ซึ่งครูภูมิปัญญาได้คิดประดิษฐ์สัตว์ชนิดต่างๆ สร้างความแปลกตาให้แก่ลูกศิษย์และผู้พบเห็นทั่วไป