แกงหน่อไม้ส้มใส่ปลากด


แกงหน่อไม้ส้ม เป็นเมนูที่ชาวไทยเบิ้งแทบทุกครัวเรือนนิยมกิน หากเหมือด(ผสม)ด้วยปลากด ที่มีเนื้อนุ่ม รสชาติมัน ก็จะยิ่งทำให้รสชาติดียิ่งขึ้น เครื่องแกงเผ็ดใส่ข้าวเบือเพิ่มเล็กน้อย เพื่อให้ของรสน้ำแกงมีความเข้มข้นมากขึ้น

เลียงแตงไทย


นอกจากแตงไทยสุกจะเป็นที่นิยมชมชอบในเมนูขนมหวานแล้ว ผลดิบก็ยังนิยมนำมาแกงเป็นอาหารคาวได้เลิศรสไม่แพ้กัน เครื่องแกงประกอบด้วย ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกแห้ง กระชาย กำจัด ผิวมะกรูด เหมือด(ผสม) ด้วยปลาแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า และยอดมะขามอ่อนให้รสเปรี้ยวเล็

เครื่องดำ เครื่องแกงลับสูตรพรานป่า


“เครื่องดำ” เครื่องชูรสในอาหารจานจัดจ้านของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ประกอบไปด้วย ใบมะกรูด ข่า หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง และกำจัด นำไปคั่วจนสุกเกรียม และตำรวมกับเกลือเม็ดจนเข้ากันดี เก็บไว้เพื่อใช้ปรุงอาหารประเภทลาบจานต่าง ๆ อาทิ ล

หมาก


“หมาก” การกินหมากหนึ่งคำชองชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงประกอบไปด้วย พลูแห้ง ปรพิม ปูนแดง หมากแห้ง

แกงเห็ดหัวเขียว


แกงเห็ดหัวเขียว มีให้กินได้บ่อยในช่วงฤดูฝน โดยลักษณะของเห็ด จะมีสีเขียวอ่อนๆอยู่ในบริเวณด้านบนของเห็ด ชาวบ้านโคกสลุงมักนิยมรับประทาน เนื่องจากมีรสชาติดี และให้กลิ่นเฉพาะตัว

ครกมือสากมือ


ครกมือสากมือ ทำจากไม้เนื้อแข็ง ใช้โขลกอาหาร และในอดีตใช้ตำข้าว

แกงหน่อไม้ไผ่ป่า


ชาวไทยเบิ้งมัก ขึ้นภูเขาไปขุดหาหน่อไม้ในป่า แกงหน่อไม้จะใช้น้ำยอดนางคั้นเข้มข้น และใช้เครื่องแกงเผ็ดสูตรเด็ดของชาวไทยเบิ้งเป็นส่วนผสม ปรุงเค็มด้วยน้ำปลาร้า บ้างโอกาสมักเหมือด(ผสม) กับผักชนิดอื่นด้วย เช่น แกงเหมือดกับชะอม แกงเหมือดเห็ดป่า หรือจะเหมือด

กระต่ายขูดมะพร้าว


กระต่ายขูดมะพร้าวเป็นของใช้ในครัว ตัวกระต่ายทำจากไม้เนื้อแข็งรูปทรงขึ้นอยู่กับอารมณ์ศิลป์ของช่าง ฟันกระต่ายทำจากโลหะ ใช้ขูดมะพร้าวเพื่อปรุงอาหารประเภทต่าง ๆ

แกงสามสิบ


ยอดสามสิบ เป็นพืชที่นิยมนำมาแกง โดยการสับส่วนยอดให้ละเอียด เหมือด(ผสม) ด้วยหมูสับหรือเนื้อสัตว์อื่นๆ น้ำแกงเข้มข้น มีรสขมปร่านิดๆ จากยอดสามสิบ

การเตรียมใบค้อ


การเตรียมใบค้อ เป็นขั้นตอนสำคัญในการทำฝาเรือนที่เรียกว่า “ฝาค้อ” ขั้นตอนคือการเลือกและตัดใบค้อที่แก่จัด ทำความสะอาด ฉีกออกเป็นใบให้มีขนาดพอดีกับการประกอบเข้าเป็นฝาเรือน

แกงแย้ใส่เปราะ


“แกงแย้ใส่เปราะ” เครื่องแกงประกอบด้วย ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า กำจัด กระชาย พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม เกลือ วิธีการทำดังนี้ นำแย้มาสับทั้งกระดูก และหั่นใบเปราะให้ละเอียด นำเนื้อแย้ที่สับไปรวนกับใบเปราะด้วยไฟอ่อนจนสุกดี ละลายน้ำแกงใส่ลงไปพอเด

แกงมันนก


คนไทยเบิ้งแทบทุกครัวเรือนนิยมกินแกงบอน และมักทำแกงบอนปริมาณมากเพื่อเลี้ยงคนในงานอีกด้วย โดยเลือกบอนชนิดที่ไม่คัน หรือคันน้อย มาแกง ใช้ของรสเปรี้ยวเพื่อกำจัดความคัน(น้ำส้มมะขามเปียก) ใส่พริกเครื่องแกงตามฉบับของชาวไทยเบิ้ง ปรุงรสเค็มด้วยปลาร้ากลิ่นห

เต้าปูน


“เต้าปูน” ทำจากโลหะชนิดต่าง ๆ ตามฐานะ เช่น ทองดอกบวบ ทองเหลือง เป็นต้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่ปูนแดงกินหมาก

แกงบอน


คนไทยเบิ้งแทบทุกครัวเรือนนิยมกินแกงบอน และมักทำแกงบอนปริมาณมากเพื่อเลี้ยงคนในงานอีกด้วย โดยเลือกบอนชนิดที่ไม่คัน หรือคันน้อย มาแกง ใช้ของรสเปรี้ยวเพื่อกำจัดความคัน(น้ำส้มมะขามเปียก) ใส่พริกเครื่องแกงตามฉบับของชาวไทยเบิ้ง ปรุงรสเค็มด้วยปลาร้ากลิ่นหอมน

ตะแกร


“ตะแกร” อุปกรณ์ทำจากโลหะ ที่ใช้ตัดหมาก สีเสียด ปรพิม เพื่อใช้กินกับหมาก

ขี้ผึ้งสีปาก


“ขี้ผึ้งสีปาก” ใช้ทางปากเหมาะกับผู้ที่กินหมาก ทำจาก กะทิที่ได้จากเนื้อมะพร้าวสดหรือเนื้อมะพร้าวเสียก็ได้ และขี้ผึ้งแท้ (ทำจากรังผึ้งที่ไม่มีตัวผึ้งแล้วนำมาต้มจนรังผึ้งละลายและเทใส่ภาชนะรอให้ขี้ผึ้งแข็งตัวและนำมาใช้) นำกะทิใส่ถ้วยตราไก่

ลำตับ อาหารถิ่นที่หายไป


“ลำตับ” อาหารถิ่นที่หายไป จากคำบอกเล่าของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงถึงอาหารการกินในถิ่นนี้ มีหลายสิ่งอย่างที่ยังคงรับประทานตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และอีกหลายเมนูอาหารที่หายไปจากวิถีชีวิต ของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง นานกว่า 50 ปี โดยเฉพาะ &

ครกกระเดื่อง


“ครกกะเดื่อง” ครกไม้สารพัดประโยชน์ใช้วิธีการเหยียบคันกระเดื่องเมื่อต้องการตำ

การทำฝาค้อ


การทำฝาค้อประกอบไปด้วย โครงไม้ไผ่สี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับฝาบ้านและกรุด้วยฟากด้านใน ทับด้วยใบค้อ และขัดทับใบค้อด้วยไม้ไผ่ด้านนอกอีกชั้น

ลาบปลากาเครื่องสด


บริเวณพื้นที่กักเก็บน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งติดกับหมู่บ้านของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง มีความอุดมสมบูรณ์มากในเรื่องความหลากหลายของปลานานาชนิด ปลากาเป็นปลาชนิดหนึ่งที่ชาวไทยเบิ้งยอมรับว่ารสชาติดีที่สุด และหากมื้ออาหารใดมีเมนูที่ทำจากเนื้อปลากา

พริกตะเกลือ


“พริกตะเกลือ” (พริกกับเกลือ) เครื่องจิ้มอเนกประสงค์ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ประกอบไปด้วย พริกป่น กระเทียม ใบมะกรูด เกลือเม็ด และลูกกำจัด (สมุนไพรประจำถิ่นผลกลมขนาดใหญ่กว่าพริกไทยเล็กน้อย รสซ่า กลิ่นฉุนคล้ายมะกรูด) โขลกผสมให้เข้ากันพอ

กระสวยทอผ้า


อุปกรณ์ทอผ้าที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง ใส่เส้นด้ายตรงช่องกลางเพื่อใช้ถักทอ

ปลาใส่เกลือ


    ปลาเกลือ คือวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง เป็นภูมิปัญญาด้านอาหารที่สืบทอดกันมานาน เนื่องจากชุมชนตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ นั่นคือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จึงทำให้สามารถจับปลามาทำอาหารได้ง่าย และเมื่อได้ปลาเป็นจำ

กระดักงา


กระดักงาขนมที่ทำจาก ข้าวเหนียวนึ่งร้อน นำไปตำใส่เกลือเล็กน้อยและโรยด้วยงาดำคั่วหอม เมื่อตำจนเนื้อเนียนดีแล้วจึงปั้นเป็นแผ่นเล็ก ๆ พอดีคำ

ต้มปลาย่างใบมะขามอ่อน


ต้มปลาย่างใบมะขามอ่อน เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงที่สืบทอดกันมานาน เป็นภูมิปัญญาด้านการอาหารอย่างหนึ่งของชาวไทยเบิ้ง วิธีการทำแสนง่ายดายดังนี้ เตรียมเครื่องต้มใส่หม้อตั้งไฟ ประกอบไปด้วย ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง กระเทียม และกระชาย

พวงกุญแจ หนู


พวงกุญแจหนู ผลิตจากผ้าขาวม้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ใช้เทคนิคการเย็บด้วยมือ ที่ถูกสร้างสรรค์ให้มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น

พวงกุญแจ ลิง


พวงกุญแจรูปลิง ผลิตจากผ้าขาวม้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ใช้เทคนิคการเย็บมือ ซึ่งลิงนั้น นับเป็นสัตว์ที่บ่งบอกถึงจังหวัดได้อย่างชัดเจน

พวงกุญแจ ดอกทิวลิป


พวงกุญแจดอกทิวลิป ใช้เทคนิคการเย็บมือโดยใช้ผ้าขาวม้าเป็นวัสดุหลัก เนื่องจากผ้าขาวม้าบางส่วนได้นำไปตัดเย็บเสื้อผ้า หรือของใช้ชิ้นใหญ่ต่างๆ ผ้าผืนเล็กจึงเหมาะสำหรับงานชิ้นเล็ก เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ข้าวต้มลูกโยน


ใบลานอ่อน ข้าวเหนียวใหม่อย่างดี มะพร้าวทึนทึกขูด เกลือ และกล้วยน้ำว้าสุกงอม ทำ"ข้าวต้มลูกโยน" ข้าวต้มมัดโบราณ ใช้เวลาต้มนานเพื่อเปลี่ยนเนื้อกล้วยสีขาวเหลืองให้กลายเป็นสีชมพูสวยและหวานอร่อย “ข้าวต้มลูกโยน” วัฒนธรรมการใช้ใบ

พวงกุญแจของเล่น ตะกร้า


“พวงกุญแจตะกร้า” สานจากตอกไม้ไผ่ เนื่องจากคนไทยเบิ้งมักไปทำบุญ ทั้งตักบาตรหน้าบ้าน หรือ ไปทำบุญที่วัดทุกวัน จึงนิยมจักสานตะกร้าไว้หลายแบบ สำหรับใส่ของทำบุญ รวมถึงใส่หมากพลู และใส่ของจำเป็นต่างๆอีกด้วย

ขนมเบื้อง


ขนมเบื้อง แต่เดิมเรียกว่า ขนมคนจน เนื่องจากมีส่วนผสมที่น้อย คือ ข้าวสารที่นำไปโม่ ผสมน้ำ เกลือ ปัจจุบันได้ถูกปรับสูตรจนขนมหวานที่ได้รสชาติเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น ด้วยการใส่ ไข่ไก่ กะทิ น้ำตาล และเพิ่มสีสันด้วยใบเตยหรือดอกอัญชัน เมื่อผสมได้ที่แล้วจึง

พวงกุญแจของเล่น ไซ


สานจากตอกไม้ไผ่ เป็นไซ เครื่องมือจับปลาคู่บ้านชาวไทยเบิ้ง อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า มีไว้สำหรับดักเงินดักทองเข้ากระเป๋า

พวงกุญแจของเล่น สุ่ม


สานจากไม้ไผ่ จากเครื่องมือจับปลาขนาดเล็ก พกพาง่าย แสดงถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตประมงของคนไทยเบิ้ง

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน หมอน


ผลิตจากใบลานแห้งสานจำลองจากหมอนของเล่นร้อยสลับ ลูกปัดไม้เป็นพวงกุญแจ

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน สับปะรด


ผลิตจากใบลานแห้งสานจำลองจากสับปะรดของเล่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับงานสาน

แกงป่าเนื้อปลากราย เผ็ดร้อนซ่า


อาหารที่ชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงนิยมทำรับประทานเป็นประจำคือเมนูที่ทำจากเนื้อปลา เนื่องจากที่ตั้งของชุมชนอยู่ติดกับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลานานาชนิด แกงป่าเนื้อปลากราย เมนูเด็ด เผ็ดร้อน เครื่องแกงประกอบไปด้วย ข่า ตะไคร้ กระชาย ใบมะก

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ปู


ผลิตจากใบลานแห้งสานเป็นของเล่นปู ขนาดเล็ก ปูบอกเล่าถึงวิถีการกินของคนที่นี่ ในช่วงฤดูหลังเก็บเกี่ยวข้าว คนที่นี่ นิยมพากันขุดปูในนา เพื่อนำมาทำอาหารรสเลิศ อย่าง หลนปู เป็นต้น

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ปลา


ผลิตจากใบลานแห้งที่สานย่อส่วนจากของเล่นปลาตะเพียน ซึ่งการสานของเล่นปลาตะเพียนนั้นได้สื่อถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งในภูมิปัญญาที่ได้ถ่ายทอดให้แก่บุคคลที่เข้ามาเรียนรู้ภายในชุมชน

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน นกบนฝักข้าวโพด


ผลิตจากใบลานแห้งสานย่อสวนจากของเล่น นกบนฝักข้าวโพด ใช้ในการเล่าเรื่อง โดยเปรียบเป็นนกนางแอ่น ที่บินเข้ามาหากินในหมู่บ้านโคกสลุง จึงมาพบกับแหล่งน้ำขนาดใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง แม่น้ำป่าสัก จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จึงได้ทำรังอย

แกงไข่น้ำ ออร์แกนนิค


“ไข่น้ำ” พืชน้ำขนาดเล็กลอยบนผิวน้ำบริเวณน้ำนิ่งและสะอาด  มีลักษณะกลมคล้ายไข่ปลา   ชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงรู้จักนำไข่น้ำมาทำอาหารตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยนำมาทำแกงไข่น้ำ  การที่มีไข่น้ำให้ซ้อนมาทำอาหารได้จึงบ่งบอกว่

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน นกบนดอกทานตะวัน


ผลิตจากใบลานแห้งด้วยเทคนิคการสานย่อส่วนจากของเล่น ประกอบนกเข้าด้วยกันกับดอกทานตะวันเป็นพวงกุญแจ สื่อถึงนกช่วงทุ่งดอกทานตะวันบานในฤดูหนาว ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของลพบุรี

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ทุเรียน


ผลิตจากใบลานแห้งสานจำลองจากของเล่นผลทุเรียน ที่ครูภูมิปัญญาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจากต่างถิ่น นำมาปรับเป็นของตนเองให้หลากหลายขนาด ขนาดใหญ่สามารถนำไปประดิษฐ์เป็นโคมไฟได้ และย่อส่วนให้มีขนาดเล็กเหมาะสำหรับเป็นพวงกุญแจ

กระเป๋าซิป


ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ย้อมสีธรรมชาติ สีฟ้าจากใบคราม สีน้ำตาลจากเปลือกประดู่ สีชมพูจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม และน้ำตาลเทาจากใบยูคาลิปตัส ทรงเหลี่ยม ติดซิป

อีแอบ


“อีแอบ” สานจากไม้ไผ่ ใช้ดักกบ

กระเป๋าอเนกประสงค์สายรูด


ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ย้อมสีธรรมชาติ สีฟ้าจากใบคราม สีน้ำตาลจากเปลือกประดู่ สีชมพูจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม และน้ำตาลเทาจากใบยูคาลิปตัส ทรงสี่เหลี่ยม ติดสายรูดเพื่อปิดปากกระเป๋า

กระเป๋าผ้าพับครึ่งอเนกประสงค์


ผลิตจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ สีฟ้าจากใบคราม สีเทาจากผลมะเกลือ

สุ่มปลา


“สุ่มปลา” สานจากไม้ไผ่แก่ ใช้เป็นเครื่องมือจับปลา

สาแหรก


“สาแหรก” ทำจากหวาย ทำจากต้นคล้า หรือจากไม้ไผ่อ่อน ใช้หาบกล้าข้าว หาบไม้ฟืน หรือใช้ร่วมกับตะกร้าเพื่อหาบของ

สับฟาก


“สับฟาก” ใช้ไม้ไผ่แก่จัดลำใหญ่เฉาะตามยาวบริเวณข้อของไม้ไผ่ตลอดทั้งลำที่ตัดไว้ หลังจากนั้นจึงผ่าเพียงด้านเดียวและคลี่ออกเป็นแผ่น และถากเนื้อไผ่ด้านในที่อ่อนออกเพื่อความสวยงามและความแข็งแรงในขณะเดียวกันก็เป็นการกำจัดเนื้อไผ่ที่สามารถเป็น

พวงกุญแจของเล่นจากใบลาน ดอกทานตะวัน


“พวงกุญแจ” ทำจากใบลานแห้งสานเป็นรูปดอกทานตะวันขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มความสวยงาม และหลากหลากให้กับผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา

ต่างหูของเล่นจากแหวน


“ต่างหู” สานจากใบลานแห้งย่อส่วนจากของเล่นแหวน มีการปรับขนาดให้ใหญ่ หรือชิดกันมากขึ้น เพื่อให้มีรูปแบบและขนาดที่ต่างกัน

ต่างหู ของเล่นจากหมอน


“ต่างหู” ทำจากใบลานแห้งสานย่อส่วนหมอนให้มีขนาดเล็กลง ประดับด้วยลูกปัดหลากสี เพิ่มความน่ารัก

ต่างหูของเล่น สับปะรด


“ต่างหู” สานจากใบลานแห้งย่อส่วนของเล่นสับปะรดให้มีขนาดเล็กลง มีลักษณะปลายแหลมเรียวลงมา ดูสวยแปลกตา

ต่างหู ของเล่นลูกยาง


“ต่างหู” ผลิตจากใบลานแห้งสานย่อส่วนจากของเล่นลูกยาง ซึ่งในชุมชนไทยเบิ้งนั้น มีต้นยางนาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ในบริเวณป่า

เรือนฝาค้อ บ้านโคกสลุง


“ฝาค้อ” ฝาเรือนของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ที่กรุด้วยใบค้อ

ต่างหูของเล่น ดอกทานตะวัน


“ต่างหู” ผลิตจากของเล่นทานตะวันที่สานจากใบลานแห้ง ไอเดียจากทุ่งทานตะวัน ที่นับเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของจังหวัดลพบุรี ที่นักท่องเที่ยวมักนิยมเข้ามาเยี่ยมชม

ต่างหูของเล่น ข้าวโพด


“ต่างหู” ผลิตจากใบลานแห้ง ย่อส่วนจากของเล่นข้าวโพด มีลักษณะปลายแหลมเรียวขึ้นไป รัดเรียงสวยงาม

ผ้าขาวม้าตาสองลอน


ผ้าขาวม้า ตาสอนลอน เป็นการออกแบบลวดลายเรียงต่อกันเป็นคู่ โดยมีคิ้วผ่ากลาง มีขนาดของตาที่แคบ ทำเป็น 2 ช่อง ซ้ำกันตลอดทั้งผืน

ผ้าขาวม้าตาราย


ผ้าขาวม้าตาราย มีลักษณะลวดลายที่ได้จากการใช้เส้นด้ายหลากสี ในจำนวนเท่าๆ กัน มายืนเรียงรายต่อกันทั้งผืน

ผ้าขาวม้าตาแปะ


ผ้าขาวม้าตาแปะ มีลักษณะของลวดลายที่ใช้เส้นด้ายมาเรียงต่อกัน 2 สี ให้มีขนาดช่องเท่า ๆ กันทั้งผืน โดยไม่มีคิ้ว

ผ้าขาวม้าตาเดี่ยว


ผ้าขาวม้าตาเดี่ยว มีลักษณะลวดลายผ้าที่ใช้สีของเส้นด้ายไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 สี จึงทำให้ลักษณะของลวดลายผ้ามีตาที่ห่างกัน

ข้าวสาร


“ข้าวสาน” ข้าวอินทรีย์ชั้นดี ปลูกด้วยกระบวนการปลอดสารพิษ

ต่างหูของเล่น ตะกร้อ


“ต่างหู” ผลิตจากใบลานแห้งที่สานเลียนแบบของเล่นตะกร้อ เป็นการสานต่อกันให้เป็นทรงกลม มีลวดลายคล้ายกับลูกตะกร้อ ประดับเพิ่มด้วยลูกปัดหลากสี

กระเตง


“กระเตง” สานจากไม้ไผ่มีลักษณะคล้ายกระบุงแต่มีหูหิ้ว หูหิ้วนิยมทำจากหวายเพื่อความแข็งแรง ใช้ใส่ของเพื่อไปทำพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่วัด

กะชัง


“กะชัง” ใช้ขังปลาเป็นที่มีขนาดใหญ่ ใช้ประกอบการหาปลาซึ่งสามารถขังปลาและแช่ในแหล่งน้ำเพื่อให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน

กระบุง


“กระบุง” สานจากไม้ไผ่ ส่วนประกอบของกระบุงประกอบด้วย ปากกระบุง(ส่วนบน) ตัวกระบุง หูกระบุง (ใช้ร้อยสายเพื่อหาบ) และก้นของกระบุง ประโยชน์ของกระบุงใช้หาบข้าว หาบของต่างๆ สารพัดประโยชน์ หรือใช้แขวนเก็บอาหารในครัว

กระบอกน้ำ


“กระบอกน้ำ” ทำจากไม้ไผ่ลำใหญ่ความยาวประมาณ ๒ ปล้อง มีสายสะพายที่ทำจากเถาของไม้เลื้อยที่มีความเหนียว ใช้ใส่น้ำเพื่อดื่มเวลาเดินทางไกล หรือในฤดูที่ไปทำนา ทำไร

ไห


“ไห” ภาชนะดินเผาใช้หมักปลาร้า และทำของหมักดองต่าง ๆ

ไนปั่นฝ้าย


“ไน” เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทอผ้า ทำหน้าที่สองอย่างคือ ปั่นฝ้าย และกรีดหลอดด้าย (การนำเส้นด้ายเข้าหลอด)

ไซ


“ไซ” เครื่องมือดักปลาเล็ก ตามช่องน้ำไหล ในฤดูน้ำหลาก หรือน้ำแล่น สานจากไม้ไผ่ มีงาสองด้าน จึงสามารถดักได้ทั้งปลาขึ้น และปลาลง

แง


“แง” ภาชนะดินเผา ใช้หมักปลาจ่อม หรือ ใส่เกลือเม็ดเก็บไว้ประกอบอาหารในครัว

เครื่องหีบฝ้าย


เครื่องหีบฝ้าย ใช้แยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย ด้วยวิธีการหมุน