โทนดินเผา


โทนดินเผา เป็นเครื่องตี สมัยก่อนใช้ในพิธีเข้าทรง เลี้ยงเจ้าบ้าน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 และใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะการละเล่นรำโทนมาตั้งแต่อดีต มาจนถึงปัจจุบัน

การต้อนรับบุคคลสำคัญ


การต้อนรับบุคคลสําคัญ เป็นการต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงนั่นเอง โดยผู้ที่ทําหน้าที่จะแต่งตัวด้วยชุดไทยเบิ้ง รอต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยรอยยิ้ม และมอบดอกไม้ใบเตย เพื่อเป็นการต้อนรับแขกผู้มาเยือน พร้อม เตรียมน้ําดื

โฮมสเตย์


เนื่องจากกิจกรรมภายในชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุงนั้น มีหลากหลาย จะให้เรียนรู้วันเดียวก็คงไม่หมด การพัก โฮมสเตย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ให้นักท่องเที่ยว ยังคงได้อยู่สัมผัสในห้วงเวลาต่างๆ ได้นานขึ้น โดยที่พัก นั้นเป็นบ้านของเจ้าของบ้านที่อาศัยอยู่ ส่วนก

สอนร้องเพลงพื้นบ้าน


การร้องเพลงพื้นบ้าน เป็นหนึ่งกิจกรรมที่ใช้ สําหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว และขับร้องเล่นในงาน ต่างๆ บ่อยครั้ง บางเพลงก็ฟังกันติดหู สามารถร้อง ตามกันได้ มีทั้งคนเฒ่าคนแก่ และกลุ่มเด็กเยาวชน เมล็ดข้าวเปลือกพากันร้องรํา จึงได้มีการต่อเพลง หรือ สอนเพลง เ

สอนทอเสื่อ


การทอเสื่อกก เป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิต ที่คนไทยเบิ้ง บางกลุ่มยังคงไว้ในปัจจุบัน ทอเพื่อใช้สอยภายใน ครัวเรือน หรือจําหน่าย จึงเป็นภูมิปัญญาที่ นักท่องเที่ยว หรือเด็กเยาวชนภายในชุมชนได้เรียนรู้ และฝึกมือกันอย่างต่อเนื่อง

หวีหูก


หวีหูก ใช้หวีเส้นด้ายยืนให้เรียงกันเพื่อความสะดวกในการทอผ้า ทำจากเปลือกมะพร้าว  หรือทำจากก้านตาลนำมามัดเรียงกันเป็นแถว

เสื้ออีหิ้ว


เสื้ออีหิ้ว เสื้อสายเดี่ยวตัวปล่อย เย็บจับจีบด้านบนด้วยความประณีต ถักโคเชเพิ่มความสวยงามบริเวณเหนืออก

เสื้ออีแปะ


“เสื้ออีแปะ” เสื้อของสุภาพสตรีชาวไทยเบิ้ง เป็นเสื้อแขนกุด ผ่าอกขัดดุม ๔ เม็ดตลอดแนว มีกระเป๋าด้านหน้า ๒ ข้าง

ย่าม


“ย่าม” ทอจากเส้นด้ายฝ้าย หรือโทเร ส่วนประกอบของย่ามมีดังนี้ ปากย่าม อยู่บริเวณขอบด้านบนของตัวย่าม ลายไส้ปลาไหล ลวดลายเล็กๆ ที่มีลักษณะซ้ำกันตลอดทั้งใบ ลายข้างกระแต ลายทิวขนานกันสามเส้นจากก้นผ่านตัวย่ามและสาย ชายกรุย ชายด้านล่างสุดเป็นแ

การทอผ้ากี่โบราณ


การทอผ้ากี่โบราณ หรือการทอหูก เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่คู่บ้านของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง

กระเป๋านกฮูก


“กระเป๋านกฮุก” ผลิตจากผ้าใช้ใส่เหรียญหรือของใช้เล็กๆ ตามความเหมาะสม

พวงมะโหตร Paper cut แห่งความศรัทธา


พวงมะโหตรทำจากกระดาษว่าวที่เรียงซ้อนกันหลากสี พับและตัด ชาวไทยเบิ้งใช้พวงมะโหตรในงานมงคล

หมอเป่า หมอพ่น


เป็นการรักษาอาการที่เกี่ยวกับ งูสวัด ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา โดยใช้เหล้าขาว และสมุนไพรบางอย่าง จากนั้นหมอพ่นจะนํามาทําพิธี ท่องคาถาแล้วพ่นใน บริเวณที่เกิดอาการ

สวดพระมาลัย


มักสวดในงานศพหลังพระสวดพระอภิธรรมเสร็จ สิ้นลง และมักจะสวดทั้งคืน

ไถ


“ไถ” ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ส่วนประกอบของไถ ประกอบด้วย หางไถ คันไถ และหัวหมู

การบูนกรรไกร


การบูนตะไกร (กรรไกร) เป็นวิธีการเดียวกัน เช่นเดียวกับการบูนไข่ เพียงแต่ใช้ ตะไกรหนีบหมากใน การบนู มีหมาก1คําและค่าครู

ลาบปลาดุก


ลาบปลาดุก ที่รสชาติเข้มข้น และมีกลิ่นหอมจากการย่างปลา ปรุงรสด้วยพริกเครื่องดำ เกลือ และน้ำมะขามเปียก กินเคียงกับผักพื้นบ้านต่างๆ

ดอกไม้กระดาษ


ดอกไม้กระดาษ ทำจากกระดาษว่าว พับและเรียงเป็นชั้น ทากาว ใช้ก้านไม้ไผ่หนีบและตัดเป็นดอกไม้ ใช้ในประเพณีแห่ดอกไม้ ประเพณีทางศาสนา และพิธีกรรมในท้องทุ่ง

ปลาร้า


ทำปลาขอดเกล็ด ผ่าท้องเอาไส้ออก ทำความสะอาด แช่น้ำไว้หนึ่งคืน นำมาเคล้าเกลือและบรรจุใส่ไห ทิ้งไว้อย่างน้อย 5-6 เดือนจึงนำมาคลุกข้าวคั่ว และจึงนำกลับไปใส่ไหตามเดิมเพื่อเก็บไว้กินได้นาน

นางเล็ด


นางเล็ด เป็นขนมที่นิยมทำในช่วงวันตรุษสงกรานต์ โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่ง นำมาทำเป็นแผ่น ทอดน้ำมันจนพอง จากนั้นจึงโรยหน้าด้วยน้ำตาลเคี่ยว

ต้มปลากดใส่เครื่องดำ


ปลากด เป็นปลาเนื้อที่มีรสชาติมันพอดี นุ่ม อร่อย ใส่เครื่องต้มปรุงรสพอเหมาะ เน้นรสชาติเค็มจากเกลือ จากนั้นจึงตักใส่ชามแล้วปรุงเพิ่มด้วย พริกเครื่องดำที่เป็นสูตรเฉพาะของชาวไทยเบิ้ง ที่ให้ความหอมจากเครื่องเทศที่ผ่านการคั่ว รสเปรี้ยวจากน้ำมะกรูด และโรยด้

คั่วหน่อไม้ส้ม


คั่วหน่อไม้ส้ม(หน่อไม้ดอง) ใช้วิธีการรวนหมูหรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่นกับหน่อไม้ส้ม ใส่พริกแกงเผ็ด ปรุงรสด้วยน้ำปลา และข้าวเบือเล็กน้อย ใส่ใบมะกรูดและกระเพราเพิ่มความหอม

ข้าวโปง


ข้าวเหนียวนึ่ง โขลก ไข่แดงต้มเล็กน้อยผสมกับน้ำมันบัว งาดำ น้ำตาล ทำแผ่น ตากแดดจนแห้ง และย่างไฟ

ขนมกรวย


ขนมกรวย เป็นขนมที่มีส่วนผสมหลักคือ แป้งข้าวเจ้าและเกลือ นำมาใส่ในกรวยใบตอง นึ่งให้สุก เนื้อนิ่มนวลละมุนลิ้น บางคนก็นำมาจิ้มกับน้ำตาลทรายแดงเพิ่มความหวานหอม

แกงหน่อไม้ส้มใส่ปลากด


แกงหน่อไม้ส้ม เป็นเมนูที่ชาวไทยเบิ้งแทบทุกครัวเรือนนิยมกิน หากเหมือด(ผสม)ด้วยปลากด ที่มีเนื้อนุ่ม รสชาติมัน ก็จะยิ่งทำให้รสชาติดียิ่งขึ้น เครื่องแกงเผ็ดใส่ข้าวเบือเพิ่มเล็กน้อย เพื่อให้ของรสน้ำแกงมีความเข้มข้นมากขึ้น

เลียงแตงไทย


นอกจากแตงไทยสุกจะเป็นที่นิยมชมชอบในเมนูขนมหวานแล้ว ผลดิบก็ยังนิยมนำมาแกงเป็นอาหารคาวได้เลิศรสไม่แพ้กัน เครื่องแกงประกอบด้วย ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกแห้ง กระชาย กำจัด ผิวมะกรูด เหมือด(ผสม) ด้วยปลาแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า และยอดมะขามอ่อนให้รสเปรี้ยวเล็

เครื่องดำ เครื่องแกงลับสูตรพรานป่า


“เครื่องดำ” เครื่องชูรสในอาหารจานจัดจ้านของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ประกอบไปด้วย ใบมะกรูด ข่า หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ พริกแห้ง และกำจัด นำไปคั่วจนสุกเกรียม และตำรวมกับเกลือเม็ดจนเข้ากันดี เก็บไว้เพื่อใช้ปรุงอาหารประเภทลาบจานต่าง ๆ อาทิ ล

หมาก


“หมาก” การกินหมากหนึ่งคำชองชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุงประกอบไปด้วย พลูแห้ง ปรพิม ปูนแดง หมากแห้ง

แกงเห็ดหัวเขียว


แกงเห็ดหัวเขียว มีให้กินได้บ่อยในช่วงฤดูฝน โดยลักษณะของเห็ด จะมีสีเขียวอ่อนๆอยู่ในบริเวณด้านบนของเห็ด ชาวบ้านโคกสลุงมักนิยมรับประทาน เนื่องจากมีรสชาติดี และให้กลิ่นเฉพาะตัว

ครกมือสากมือ


ครกมือสากมือ ทำจากไม้เนื้อแข็ง ใช้โขลกอาหาร และในอดีตใช้ตำข้าว

แกงหน่อไม้ไผ่ป่า


ชาวไทยเบิ้งมัก ขึ้นภูเขาไปขุดหาหน่อไม้ในป่า แกงหน่อไม้จะใช้น้ำยอดนางคั้นเข้มข้น และใช้เครื่องแกงเผ็ดสูตรเด็ดของชาวไทยเบิ้งเป็นส่วนผสม ปรุงเค็มด้วยน้ำปลาร้า บ้างโอกาสมักเหมือด(ผสม) กับผักชนิดอื่นด้วย เช่น แกงเหมือดกับชะอม แกงเหมือดเห็ดป่า หรือจะเหมือด

กระต่ายขูดมะพร้าว


กระต่ายขูดมะพร้าวเป็นของใช้ในครัว ตัวกระต่ายทำจากไม้เนื้อแข็งรูปทรงขึ้นอยู่กับอารมณ์ศิลป์ของช่าง ฟันกระต่ายทำจากโลหะ ใช้ขูดมะพร้าวเพื่อปรุงอาหารประเภทต่าง ๆ

แกงสามสิบ


ยอดสามสิบ เป็นพืชที่นิยมนำมาแกง โดยการสับส่วนยอดให้ละเอียด เหมือด(ผสม) ด้วยหมูสับหรือเนื้อสัตว์อื่นๆ น้ำแกงเข้มข้น มีรสขมปร่านิดๆ จากยอดสามสิบ

การเตรียมใบค้อ


การเตรียมใบค้อ เป็นขั้นตอนสำคัญในการทำฝาเรือนที่เรียกว่า “ฝาค้อ” ขั้นตอนคือการเลือกและตัดใบค้อที่แก่จัด ทำความสะอาด ฉีกออกเป็นใบให้มีขนาดพอดีกับการประกอบเข้าเป็นฝาเรือน

แกงแย้ใส่เปราะ


“แกงแย้ใส่เปราะ” เครื่องแกงประกอบด้วย ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า กำจัด กระชาย พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม เกลือ วิธีการทำดังนี้ นำแย้มาสับทั้งกระดูก และหั่นใบเปราะให้ละเอียด นำเนื้อแย้ที่สับไปรวนกับใบเปราะด้วยไฟอ่อนจนสุกดี ละลายน้ำแกงใส่ลงไปพอเด

แกงมันนก


คนไทยเบิ้งแทบทุกครัวเรือนนิยมกินแกงบอน และมักทำแกงบอนปริมาณมากเพื่อเลี้ยงคนในงานอีกด้วย โดยเลือกบอนชนิดที่ไม่คัน หรือคันน้อย มาแกง ใช้ของรสเปรี้ยวเพื่อกำจัดความคัน(น้ำส้มมะขามเปียก) ใส่พริกเครื่องแกงตามฉบับของชาวไทยเบิ้ง ปรุงรสเค็มด้วยปลาร้ากลิ่นห

เต้าปูน


“เต้าปูน” ทำจากโลหะชนิดต่าง ๆ ตามฐานะ เช่น ทองดอกบวบ ทองเหลือง เป็นต้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่ปูนแดงกินหมาก

แกงบอน


คนไทยเบิ้งแทบทุกครัวเรือนนิยมกินแกงบอน และมักทำแกงบอนปริมาณมากเพื่อเลี้ยงคนในงานอีกด้วย โดยเลือกบอนชนิดที่ไม่คัน หรือคันน้อย มาแกง ใช้ของรสเปรี้ยวเพื่อกำจัดความคัน(น้ำส้มมะขามเปียก) ใส่พริกเครื่องแกงตามฉบับของชาวไทยเบิ้ง ปรุงรสเค็มด้วยปลาร้ากลิ่นหอมน

ตะแกร


“ตะแกร” อุปกรณ์ทำจากโลหะ ที่ใช้ตัดหมาก สีเสียด ปรพิม เพื่อใช้กินกับหมาก

ขี้ผึ้งสีปาก


“ขี้ผึ้งสีปาก” ใช้ทางปากเหมาะกับผู้ที่กินหมาก ทำจาก กะทิที่ได้จากเนื้อมะพร้าวสดหรือเนื้อมะพร้าวเสียก็ได้ และขี้ผึ้งแท้ (ทำจากรังผึ้งที่ไม่มีตัวผึ้งแล้วนำมาต้มจนรังผึ้งละลายและเทใส่ภาชนะรอให้ขี้ผึ้งแข็งตัวและนำมาใช้) นำกะทิใส่ถ้วยตราไก่

ลำตับ อาหารถิ่นที่หายไป


“ลำตับ” อาหารถิ่นที่หายไป จากคำบอกเล่าของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงถึงอาหารการกินในถิ่นนี้ มีหลายสิ่งอย่างที่ยังคงรับประทานตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และอีกหลายเมนูอาหารที่หายไปจากวิถีชีวิต ของชาวไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง นานกว่า 50 ปี โดยเฉพาะ &

ครกกระเดื่อง


“ครกกะเดื่อง” ครกไม้สารพัดประโยชน์ใช้วิธีการเหยียบคันกระเดื่องเมื่อต้องการตำ

การทำฝาค้อ


การทำฝาค้อประกอบไปด้วย โครงไม้ไผ่สี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับฝาบ้านและกรุด้วยฟากด้านใน ทับด้วยใบค้อ และขัดทับใบค้อด้วยไม้ไผ่ด้านนอกอีกชั้น

ลาบปลากาเครื่องสด


บริเวณพื้นที่กักเก็บน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งติดกับหมู่บ้านของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง มีความอุดมสมบูรณ์มากในเรื่องความหลากหลายของปลานานาชนิด ปลากาเป็นปลาชนิดหนึ่งที่ชาวไทยเบิ้งยอมรับว่ารสชาติดีที่สุด และหากมื้ออาหารใดมีเมนูที่ทำจากเนื้อปลากา

พริกตะเกลือ


“พริกตะเกลือ” (พริกกับเกลือ) เครื่องจิ้มอเนกประสงค์ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ประกอบไปด้วย พริกป่น กระเทียม ใบมะกรูด เกลือเม็ด และลูกกำจัด (สมุนไพรประจำถิ่นผลกลมขนาดใหญ่กว่าพริกไทยเล็กน้อย รสซ่า กลิ่นฉุนคล้ายมะกรูด) โขลกผสมให้เข้ากันพอ

กระสวยทอผ้า


อุปกรณ์ทอผ้าที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง ใส่เส้นด้ายตรงช่องกลางเพื่อใช้ถักทอ

ปลาใส่เกลือ


    ปลาเกลือ คือวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง เป็นภูมิปัญญาด้านอาหารที่สืบทอดกันมานาน เนื่องจากชุมชนตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ นั่นคือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จึงทำให้สามารถจับปลามาทำอาหารได้ง่าย และเมื่อได้ปลาเป็นจำ

กระดักงา


กระดักงาขนมที่ทำจาก ข้าวเหนียวนึ่งร้อน นำไปตำใส่เกลือเล็กน้อยและโรยด้วยงาดำคั่วหอม เมื่อตำจนเนื้อเนียนดีแล้วจึงปั้นเป็นแผ่นเล็ก ๆ พอดีคำ