เพชรหึง / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย Carl(Karl) Ludwig von Blume (1796-1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน-ดัตช์ ตีพิมพ์ที่ Bijdragen tot de Flora van Nederlandsch Indie ในปี 1825 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำต้นยาว มีลำได้มากถึง 50 ลำ แตกกอแน่นชิดติดกัน ใบเรียงสลับระนาบเดียว มีมากถึง 100 ใบ รูปแถบยาว ช่อดอกเกิดจากด้านข้างบริเวณโคนของลำลูกกล้วย ดอกได้มากถึง 50 ดอก ดอกสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อน มีลายจุดหรือปื้นสีน้ำตาลทั่วกลีบ กลีบเลี้ยงกลางออก รูปไข่กลับ กลีบดอกรูปไข่กลับ กลีบปากคุ่ม แยกเป็นแฉกชัด แฉกกลางรูปสามเหลี่ยม สีส้ม มีประสีแดงทั่วแฉก โคนแฉกมีสัน 3 สันสีเหลือง แฉกข้างรูปไข่ ปลายมน นิเวศวิทยา: ดอกบานเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม การกระจายพันธุ์: พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว เกาะชวา เกาะมาลูกู ฟิลิปปินส์ เกาะซูลาเวซี เกาะสุมาตรา หมู่เกาะบิสมาร์ก ปาปัว นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] หนังสือบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพกล้วยไม้ไทย ส่วนที่ 2 https://bedolib.bedo.or.th/book/131 [2] https://orchidspecies.com/grammspeciosum.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Grammatophyllum speciosum Blume

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง