เอื้องเสือแผ้ว / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบครั้งแรกโดย John Lindley (1799-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน พบครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ต่อมา Johannes Jacobus Smith (1867-1947) นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตซ์ มาเปลี่ยนชื่อเป็น Pomatocalpa maculosum ตีพิมพ์ที่ Natuurkundig Tijdschrift voor Nederlandsch-Indië ในปี 1912 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำต้นแตกกอไม่เป็นระเบียบ ลำรูปทรงกระบอก ตั้งตรง ใบรูปแถบแกมขอบขนาน ช่อดอกเกิดที่ข้างลำต้น เกิดได้หลายช่อ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ตั้งตรง ดอกมักรวมเป็นกระจุกที่ปลายช่อย่อย มี 8-18 ดอก ดอกสีเหลืองอมน้ำตาล อาจมีประสีชมพู โดยเฉพาะบริเวณใกล้โคนกลีบ กลีบเลี้ยงคุ่ม รูปไข่กลับ ส่วนปลายโค้งเข้าหากัน กลีบดอกรูปไข่กลับ กลีบปากสีเหลือง แยกเป็นแฉกสั้น แฉกกลางปลายแหลม แฉกข้างสั้นมาก โคนกลีบปากเชื่อมต่อเป็นถุงคล้ายเดือย ห้อยลงอยู่ในแนวเดียวกับกลีบปาก ปลายมนกลม [1] นิเวศวิทยา: ดอกบานเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม พบตามป่าผลัดใบและป่าดิบเล้ง ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ [1] การกระจายพันธุ์: เทือกเขาหิมาลัยทางตะวันออก ศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน ไทย หมู่เกาะนิโคบาร์ ลาว มาเลเซีย เกาะชวา และฟิลิปปินส์ [2] ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] หนังสือบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพกล้วยไม้ไทย ส่วนที่ 2 [2] https://www.orchidspecies.com/pommaculosum.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Pomatocalpa maculosum (Lindl.) J. J. Sm.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง