เอื้องกลีบม้วนสีสนิม / -

ประวัติการค้นพบ: John Lindley ตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ในปี ค.ศ. 1848 พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทยพบที่นครราชสีมา พังงา ถิ่นอาศัยพบในป่าดิบชื้นตามที่ร่มและค่อนข้างมืดครึ้ม ที่ความสูง1,200เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม ที่มาชื่อไทย: มาจากสีของดอกคล้ายสนิม ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดิน มักขึ้นตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ ลำต้นเป็นหัวค่อนข้างแบน มีใบรูปใบหอกแคบ 3-6 ใบ ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อตั้ง ยาวถึง 40 ซม. ดอกสีม่วงอมน้ำตาลเข้ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขอบม้วนตามยาว กลีบปากโค้งสีน้ำตาลอมม่วงเข้ม เส้าเกสรเรียว นิเวศวิทยา: พบตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งเปิด มักพักตัวในฤดูแล้ง การกระจายพันธุ์: จีนตอนใต้ ฮ่องกง ลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว ชวา และสุมาตรา ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง: orchidspecies.com


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Liparis ferruginea Lindl.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง