เอื้องกระสุนพระอินทร์ / -

ประวัติการค้นพบ: มีการตั้งชื่อครั้งแรก Euproboscis pygmaea Griff. โดย Willium Griffith นักธรรมชาติวิทยา หมอ และนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ในวารสาร Calcutta Journal of Natural History, and Miscellany of the Arts and Sciences in India. Calcutta V.5: 372 ในปี ค.ศ. 1845 พืชชนิดนี้ตั้งชื่อครั้งแรกจากตัวอย่างที่เก็บจากในประเทศเนปาล ต่อมามีการศึกษาเพิ่มเติม จนกระทั่งปี ค.ศ. 1878 John Lindley ได้ตั้งชื่อเป็น Thelasis pygmaea (Griff.) Lindl. ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำลูกกล้วยรูปเกือบกลม แป้นและแบน ไม่สมมาตร ปลายลำมีใบ 1-2 ใบ ใบรูปรี ช่อดอกเกิดจากโคนลำ ตั้งตรง ดอกขนาดเล็ก จำนวน 10-20 ดอก ต่อช่อดอก เรียงเวียนห่าง ๆ รอบแกนกลางช่อ ดอกสีขาวอมเขียว เมื่อบานเต็มที่วงกลีบแผ่บานออกไม่มาก กลีบเลี้ยงบนและกลีบเลี้ยงข้างรูปไข่แกมรูปหอก กลีบดอกรูปขอบขนานแคบ กลีบปากรูปไข่ไปจนถึงรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม [1] นิเวศวิทยา: ดอกบานเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม พบตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบแล้ง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ [1] การกระจายพันธุ์: จีน ไต้หวัน อินเดีย เนปาล ภูฏาน หมู่เกาะอันดามัน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม เกาะบอร์เนียว เกาะชวา หมู่เกาะซุนดาน้อย มาเลเซีย หมู่เกาะมาลูกู เกาะซุลาเวซี เกาะสุมาตรา กลุ่มเกาะบิสมาร์ก หมู่เกาะโซโลมอน และเกาะนิวกินี [2] ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] หนังสือบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพกล้วยไม้ไทย ส่วนที่ 2 https://bedolib.bedo.or.th/book/131 [2] https://www.orchidspecies.com/thelpygmaea.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Thelasis pygmaea (Griff.) Lindl.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง