นางอั้วน้อย / -

นางอั้วน้อย เป็นดอกไม้สัญลักษณ์แห่งความเศร้าโศก ในนิทานพื้นบ้านอีสาน “ตำนานรักท้าวขูลูและนางอั้ว”ท้าวขูลูเป็นกษัตริครองนครกาสี ส่วนนางอั้วเป็นธิดาของกษัตริย์นครกาย ทั้งสองรักกันมาก จนมีคำมั่นสัญญาจะครองรักกันตลอดไป หากไม่สามารถเป็นไปได้ จะตายไปด้วยกันเพื่อครองรักบนสวรรค์ แต่ด้วยทิฐิมานะพระมารดาของนางอั้ว ที่เคยขัดแย้งกันกับพระมารดาของท้าวขูลูในอดีต จึงไม่ยอมยกลูกสาวให้ท้าวขูลู แต่ยกลูกสาวให้กับขุนลางชายชราที่หวังมีเมียสาว สุดท้ายนางอั้วไปผูกคอตายที่ใต้ต้นจวงจันทน์(กฤษณา) ส่วนท้าวขูลูทราบก็คลุ้มคลั่งเอามีแทงคอตัวเองตายตามไป เมื่อเสียลูกชายและลูกสาว ผู้เป็นแม่จึงลดทิฐิลง นำศพของทั้งสองมาที่ชายเมือง มาทำพิธีเผาศพ เถ้าอัฐิของนางอั้วและท้าวขูลูกลายเป็นดอกไม้สวยงามขึ้นอยู่ด้วยกัน ที่ใดมีนางอั้วจะมีท้าวขูลู ตามจินตนาการของคนอีสานดอกสีขาวสะอาดของนางอั้วนั้นจะมีเดือยยาวคล้ายเชือกผูกคอ กลีบปากที่แผ่ออกคล้ายคนแลบลิ้น ส่วนดอกของท้าวขูลูสีม่วงอมชมพู มีกลีบเลี้ยงคู่ข้างที่ตั้งขึ้นลักษณะคล้ายกับมีแทงที่คอ ด้วยความเชื่อนี้ชาวบ้านอีสานจึงไม่นิยมปลูกกล้วยไม้ทั้งสองชนิดในบ้าน ปัจจุบันป่าเบญจพรรณในอีสานลดลงมากทำให้ที่อยู่อาศัยของกล้วยไม้ทั้งสองลดลงและหาดูได้ยากมากในธรรมชาติ (แหล่งที่มา: https://op.mahidol.ac.th/ra/contents/RSPG-MU/DOCUMENTS.pdf) ประวัติการค้นพบ: Olof Swartz นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ลูกศิษย์ของ Linneus ตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ว่า Orchis dentata Sw. ต่อมาในปี 1919 นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน Rudolf Schlecher ได้ตรวจสอบชื่อและย้ายไปอยู่ในสกุล Habenaria และได้เปลี่ยนเป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่มาชื่อไทย: มาจากนิทานพื้นบ้านตัวแทนนางในละครชื่อนางอั๊ว ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดิน สูง 20-30 ซม. มีหัวใต้ดินรูปทรงกระบอก ใบ รูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3 ซม. ยาว 12 ซม. ออกแน่น ใกล้ โคนต้น ดอก ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอดลักษณะเป็นพุ่ม ยอดแหลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวนวล โคนกลีบปาก คอดเว้า ปลายกลีบแยกเป็น 3 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 ซม. นิเวศวิทยา: ตามป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ที่โล่ง แดดจัด ออกดอกช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน การกระจายพันธุ์: พบทั่วประเทศ ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: มีการผสมตัวเองได้ มักติดฝักเกือบ 100% แมลงผสมเกสรเป็นพวกผีเสื้อ มีน้ำหวานอยู่ในงวงดอกที่ยืดยาวเป็นรางวัลสำหรับแมลงผสมเกสร สถานภาพทางการอนุรักษ์: ไม่น่าเป็นห่วง เอกสารอ้างอิง: qsbg.org/database/botanic_book


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Habenaria dentata (Sw.) Schltr.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง