หัวแซะครู / -

กล้วยไม้ที่พบบนแพหนังหมาในบึงจำรุง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อีกชนิดหนึ่ง มีดอกออกสีชมพูอ่อน หวานแหวว แต่ดอกไม่ค่อยรับแขก เหนียมอายก้มหน้าลง นอกจากจะพบที่บึงน้ำจืดแล้วยังพบขึ้นตามทุ่งหญ้าที่มีไฟไหม้บ่อยๆ ที่มีหญ้าคาเป็นพืชเด่น เช่น ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประวัติการค้นพบ: กล้วยไม้ชนิดนี้ถูกตั้งชื่อโดยนักพฤกษศาสตร์ลูกครึ่งชาวเยอรมันดัตช์ Karl Ludwig von Blume ตั้งแต่ปี ค.ศ.1825 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดิน สูง 20-30 ซม. ใบ รูปใบแถบคล้ายใบหญ้า กว้าง 1 ซม. ยาว 20-30 ซม. ดอก ออกเป็นช่อ ยาว 20-30 ซม. จำนวน 5-20 ดอก บานเต็มที่กว้าง 8-10 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีชมพู กลีบปากสีเขียวแกมเหลือง นิเวศวิทยา: พบตามป่าโปร่ง ทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคกลาง ดอกออกเดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม การกระจายพันธุ์: มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ตั้งแต่เอเชียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงนิวกินีและทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง:แห้วชะครู | Pachystoma pubescens Blume : BGO Plant Database-ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (qsbg.org)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Pachystoma pubescens Blume

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง