ว่านแผ่นดินเย็นเขาใหญ่ / -

ประวัติการค้นพบ: เป็นกล้วยไม้ดินที่พบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวไทยจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และนักพฤกษศาสตร์ชาวฮ่องกง ตีพิมพ์ในวารสาร Kew bulletin 68:331 (2013) ตัวอย่างต้นแบบถูกเก็บไว้ที่ หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ฺBKF Herbarium) ที่มาชื่อไทย: เนื่องจากพบในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูงและเย็น จึงเป็นที่มาของว่านแผ่นดินเย็นเขาใหญ่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดิน มีลำต้นใต้ดิน ใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โดนใบเว้าลึก เจริญบนดินมีสีเขียวหรือม่วง ผิวใบเกลี้ยง มีเเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น ช่อดอกยาว 5-7 ซม. มีใบประดับรูปขอบขนานปลายแหลม ดอกตั้งตรง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีน้ำตาล รูปไข่กลับ หรือรูปไข่ กลีบปากสีขาวหรือสีครีม มีสีเหลืองหรือเขียวบริเวณกลางกลีบปาก มีจุดสีม่วง นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบชื้น เจริญบนดินที่มีซากพืชทับถม มี 1 ใบ ใบและดอกออกคนละช่วงเวลาไม่พร้อมกัน สูงจากระดับน้ำทะเล 700-800 ม. ออกดอกเดือนมีนาคม-กันยายน การกระจายพันธุ์: พบในประเทศไทย (อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่) ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: พืชถิ่นเดียวในประเทศไทย (Endermic) เอกสารอ้างอิง: -


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Nervilia khaoyaica Suddee, Watthana & S.W.Gale

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง