เอื้องไร้ใบ / -

ประวัติการค้นพบ: ค้นพบโดย Carl Ludwig Willdenow (1765 –1812) นักพฤกษศาสตร์ นักเภสัชศาสตร์ และนักอนุกรมวิธานพืชชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ใน Species plantarum ในปี ค.ศ.1805 และมีการเปลี่ยนสกุลอีกครั้ง จนต่อมาสุดท้าย Gunnar Seidenfaden (1908 –2001) นักการทูตและนักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ร่วมกับ Paul Abel Ormerod (1969 - ปัจจุบัน) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ได้ย้ายสกุลของกล้วยไม้นี้ให้มาอยู่ในสกุล Taeniophyllum ตีพิมพ์ใน The Descriptiones Epidendrorum of J.G. König ในปี ค.ศ. 1995 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัย มีรากสีเขียวเข้มแบน แผ่ยาวถึง 20 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 3 มิลลิเมตร ช่อดอกย่อยยาว 4 - 10 มิลลิเมตร ลักษณะตั้งขึ้นเล็กน้อย ก้านช่อดอกและแกนกลางช่อดอก เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.4 มิลลิเมตร แกนกลางช่อดอกมีดอก 1 - 3 ดอก ใบประดับ สีเขียว รูปใบหอก ปลายแหลม มีขนแข็งกระจายปกคลุม กว้าง 0.5 - 0.7 มิลลิเมตร ยาว 0.5 - 0.8 มิลลิเมตร เมื่อดอกบานจะเปิดกว้าง ก้านดอกและรังไข่สีขาวแกมเขียว ขนาด 0.5 - 0.6 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงบนรูปไข่แกมรี ปลายมน กว้าง 1 - 1.2 มิลลิเมตร ยาว 1.5 - 2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงข้างแยกกันอิสระ รูปไข่ ขนาดยาว 2.9 - 3 มิลลิเมตร กว้าง 1.2 - 1.3 มิลลิเมตร ปลายป้าน กลีบดอก สีเหลือง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาว 2.5 มิลลิเมตร 0.6 มิลลิเมตร มีร่องตามยาวเป็นเส้น 1 เส้น ขอบอาจมีรอยบากเล็กน้อย ปลายกลีบค่อนข้างแหลม กลีบปาก สีขาวปลายอมเหลืองอ่อน รูปคล้ายเรือหรือคล้ายรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ขนาดกว้าง 2.5 มิลลิเมตร 2 มิลลิเมตร ด้านใกล้แกน มีขนปุ่มเล็กกระจายอยู่ที่ฐาน ปลายป้าน เดือยดอก รูปทรงกระบอกบุบด้านหลังเล็กน้อยหรือรูปกรวย ปลายป้าน ขนาดยาว 2 มิลลิเมตร กว้าง 1 มิลลิเมตร เส้าเกสรสีขาว ขนาด 1 มิลลิเมตร ฝัก รูปทรงกระบอกขนาดยาว 10 มิลลิเมตร กว้าง 3 มิลลิเมตร นิเวศวิทยา: พบบนลำต้นของต้นไม้ที่ขอบป่าที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 700-1,200 เมตร พบในที่ที่มีแสงปานกลาง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม การกระจายพันธุ์: จีน (ยูนนาน) กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: -


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Taeniophyllum pusillum (Willd.) Seidenf. & Ormerod

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง