เอื้องสีลาน้อย / -

ประวัติการค้นพบ: ค้นพบโดย John Lindley (1799 - 1865) นักพฤกษศาสตร์และนักกล้วยไม้ชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ใน The genera and species of orchidaceous plants ในปี ค.ศ.1831 และมีการเปลี่ยนสกุลอีกครั้ง จนต่อมาสุดท้าย Heinrich Gustav Reichenbach (1823 - 1889) นักพฤกษศาสตร์และนักกล้วยไม้ชาวเยอรมัน ได้ย้ายสกุลของกล้วยไม้นี้ให้มาอยู่ในสกุล Tainia ในปี ค.ศ. 1857 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดินที่มีลำลูกกล้วยและมีเหง้าใต้ดิน (Pseudobulb geophyte) ลำต้นเป็นลำลูกกล้วยรูปทรงกลม ทรงกระบอก หรือรูปไข่ ขนาดยาว 7 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐาน 1 - 1.5 เซนติเมตร อวบน้ำ สีม่วงคล้ำ ปกติลำลูกกล้วยจะถูกหุ้มด้วยปลอกเยื่อ มีก้านใบเรียว ขนาดยาว 8 - 30 เซนติเมตร ใบรูปรีกว้าง รูปไข่หรือรูปใบหอกแกมรูปรี ขนาดยาว 18 - 32 เซนติเมตร กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร แผ่นใบพับจีบ ดอกเป็นดอกช่อ ช่อดอกตั้งตรง ก้านช่อดอกยาว 20 - 80 เซนติเมตร มีปลอกหุ้ม 3 ชั้น แกนกลางช่อดอก สีน้ำตาลเข้ม ยาว 20 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก บานพร้อมกันทั้งช่อ มีใบประดับรูปใบหอกแคบ ขนาด 2 มิลลิเมตร ดอกมีกลิ่นหอม ขนาดดอก 1.5 - 2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อย, รังไข่, กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีน้ำตาลเข้มปนม่วงคล้ำ ก้านดอกย่อยและรังไข่ ขนาด 1.3 เซนติเมตร รังไข่ขยายออกคล้ายกระบอง กลีบเลี้ยงด้านหลังรูปขอบขนานแคบ ยาว 11 -13 มิลลิเมตร กว้าง 1.7 - 2 มิลลิเมตร มีเส้น 3 แฉกลักษณะป้านมน กลีบเลี้ยงด้านข้างแคบลงเป็นรูปขอบขนาน ยาว 12 มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร โคนเชื่อมติดกับโคนเส้าเกสรทำให้เกิดคาง (mentum) สั้น กลีบดอกคล้ายกลีบเลี้ยงด้านข้าง ขนาดยาว 12 - 13 เซนติเมตร กว้าง 2 - 3 มิลลิเมตร กลีบปากสีครีมอมเหลืองจนถึงสีเหลือง รูปรีถึงรูปไข่ 8 - 12 มิลลิเมตร 4 - 9 มิลลิเมตร แยกเป็น 3 แฉก แฉกด้านข้างตั้งตรง รูปไข่แกมสามเหลี่ยมกว้าง 5 - 7 มิลลิเมตร ลักษณะแบนแหลม แฉกกลางรูปเกือบกลมหรือไข่กลับ ขนาดว้าง 4 มิลลิเมตร ปลายกลีบเว้าตื้น เส้าเกสรสีเหลือง งอหรือโค้งขนาด 7 มิลลิเมตร ขอบเรียบหรือหยักเล็กน้อย ฝาครอบกลุ่มเรณูมี 2 ส่วน ซึ่งมีสีแดงอมม่วง นิเวศวิทยา: พบตามพื้นในป่าเบญจพรรณและดิบเขาที่มีแสงรำไรและมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700-1,500 เมตร ออกดอกในราวเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ การกระจายพันธุ์: อินเดีย ภูฏาน จีนตอนใต้ พม่า ลาว และไทย ในไทยพบทางทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: -


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Tainia latifolia (Lindl.) Rchb.f.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง