แมงมุมอันนัม / -

ความแปลกประหลาดของกล้วยไม้อีกประการหนึ่ง คือ บางชนิดมีดอกบานแค่วันเดียว และพบเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่ขึ้นตามกิ่งไม้เล็กๆ นั่นหมายความว่า มันพร้อมที่จะตายเมื่อกิ่งเล็กๆ ของต้นไม้หลุดร่วงไป ส่วนตัวมันก็พยายามสร้างลูกหลาน ด้วยการสร้างเมล็ด ให้ปลิวไปเกาะที่ต้นไม้หรือกิ่งไม้เป็นการทดแทนต้นที่ตายไป หนึ่งในกล้วยไม้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้คือ แมงมุมอันนัม ประวัติการค้นพบ: ในปี 1961 Andre Guillaumin นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ที่พบที่มณฑลอันนัม ประเทศเวียดนาม ด้วยชื่อ Ascochilus annamensis แต่ชื่อที่ยอมรับว่าถูกต้องคือ ชื่อที่ตั้งโดย Leslie Andrew Garay นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกา ในปี 1972 ที่มาชื่อไทย: เรียกตามชื่อวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อระบุชนิดว่าพบที่มณฑลอันนัม ประเทศเวียดนาม ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก เกาะอาศัยตามกิ่งไม้ เจริญทางยอด ลำต้นสั้น มีใบ 4-5 ใบ บางครั้งมีสีเขียวอมม่วง ใบ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม มีลักษณะเป็น 2 แฉกเล็กๆ เนื้อใบอวบหนา ก้านช่อดอกเรียว ส่วนปลายก้านค่อนข้างอวบหนา ดอกออกเป็นกระจุกที่ส่วนปลายก้าน มีขนาดเล็ก บานทีละดอก แต่ละดอกบาน 1 วัน ดอกสีขาว กลีบปากมีแต้มสีเหลือง ฝัก เรียวยาว เป็นสัน นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบแล้ง ที่โล่ง ริมลำธาร การกระจายพันธุ์: แถบฮิมาลัย จีนตอนใต้ เวียดนาม ไต้หวัน และไทย ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: ค่อนข้างหายากในประเทศไทย เอกสารอ้างอิง: orchidspecies.com


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Thrixspermum annamense (Guillaumin) Garay

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง