เอื้องกลีบติด / -

เวลาเดินในป่าเราควรเดินตามทางเดินเท่านั้น มิฉะนั้นอาจไปเหยียบกล้วยไม้จิ๋วตามพื้นดินที่เรามองไม่ค่อยเห็นได้ เอื้องกลีบติดเป็นกล้วยไม้แปลกอีกชนิดหนึ่งที่ไม่มีการสร้างคลอโรฟิลล์รงควัตถุสีเขียวสำหรับการสังเคราะห์แสง และไม่มีการสร้างใบ ดูเหมือนกลุ่มเห็ดรา แต่เป็นกล้วยไม้ ที่เราเรียกว่า กล้วยไม้อาศัยรา (Holomycothophic orchid) ได้รับธาตุอาหารจากราในการดำรงชีวิต มีเหง้าใต้ดิน ช่วงเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม จะแทงช่อดอกโผล่พ้นดิน อาศัยแมลงขนาดเล็กที่ยังไม่ทราบชนิดช่วยผสมเกสร เมื่อผสมติดแล้ว ก้านช่อดอกจะยืดยาวเพิ่มขึ้นจากประมาณ 0.5 ซม. ได้ถึง เกือบ 10 ซม. โดยการยืดของแต่ละเซลล์ในก้านดอก คาดว่าเป็นการปรับตัวเพื่อการกระจายเมล็ด เป็นรูปแบบการเจริญที่น่าทึ่ง ประวัติการค้นพบ: ตั้งชื่อโดย Sir Joseph Dalton Hooker นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ที่มาชื่อไทย: ลักษณะกลีบดอกที่ติดกันคล้ายหลอด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดินอาศัยรา ไม่มีคลอโรฟิลสำหรับการสังเคราะห์แสง มีลำต้นสะสมอาหารเป็นหัว ไม่มีใบ ดอก ออกเป็นช่อห่าง มี 3-15 ดอก ยาวได้ถึง 40 ซม. ดอกย่อยสีขาว ก้านดอกและรังไข่สีน้ำตาลอ่อน เมื่อฝักแก่ก้านดอกจะยืดยาว นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 700-1500 เมตร ออกดอกเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม การกระจายพันธุ์: อินเดีย ไทย และ ทางเหนือของสุมาตรา


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Gastrodia exilis Hook.f.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง