สิงโตก้ามปูน้อย / -

ชื่อระบุชนิด “pumilio” หมายถึงแคระแกรน สิงโตก้ามปูน้อย ส่วนใหญ่มี 2 ดอก ลักษณะดอกแต่ละดอกคล้ายกับก้ามปู สีเหลือง เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีมอสปกคลุม ชอบกาศเย็น จะเห็นได้ก็ตอนที่ออกดอก และต้องเป็นนักสังเกตุที่ดี ประวัติการค้นพบ: ชื่อวิทยาศาสตร์ถูกตั้งโดย Charles Samuel Pollock Parish และ Heinrich Gustav Reichenbach ในปี ค.ศ. 1874 ที่มาชื่อไทย: มาจากลักษณะดอกที่คล้ายก้ามปู และชื่อวิทยาศาสตร์ที่มีความหมายว่าแคระแกรน และเป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลสิงโต จึงเรียกว่า สิงโตก้ามปูน้อย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก ลำลูกกล้วยลักษณะกลมค่อนข้างแบน ขนาดเล็ก ออกเรียงติดกัน ใบรูปแถบ ดอกมีสีเหลืองสดใส มักออกทีละ 1-3 ดอก ต่อช่อ ก้านช่อดอกเรียวยาว ช่อดอกแบบกึ่งช่อซี่ร่ม กลีบเลี้ยงบนและกลีบดอกสีเหลืองมีแถบสีน้ำตาลแดงตามยาว กลีบเลี้ยงคู่ข้างสีเหลืองสด กลีบบิดที่ส่วนกลาง ปลายขอบส่วนปลายติดกัน นิเวศวิทยา: กล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก พบขึ้นบนต้นไม้ในป่าดิบเขาระดับต่ำ ที่ระดับความสูง 1,000 -1,200 เมตร การกระจายพันธุ์: ในประเทศไทยพบที่จังหวัด นครราชสีมา ราชบุรี ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง: สลิล สิทธิสัจจธรรม (2553)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Bulbophyllum pumilio C. S. P. Parish & Rchb. f.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง