หวายแดง / -

หวายแดงเป็นกล้วยไม้สัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณน้ำตกผากล้วยไม้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทุกเดือนมีนาคมของทุกปี หวายแดงจะออกดอกสีแดงสด ทำให้เห็นเป็นแต้มสีแดงบริเวณกว้างที่สวยงาม ลักษณะลำต้นของหวายแดงจะกลมเรียวยาวและเป็นปล้องลักษณะคล้ายกับลำหวาย ใบมีสีเขียวแกมม่วงแดง และดอกมีสีแดงสด อันเป็นที่มาของชื่อไทย ส่วนชื่อระบุชนิด “coccinea” เป็นภาษาลาตินแปลว่า สีแดง หวายแดงแม้จะออกดอกนับหมื่นดอกในบริเวณผากล้วยไม้ แต่แทบจะไม่ติดฝักเลย เนื่องจากไม่มีแมลงมาผสมเกสร สาเหตุหนึ่งคือ เป็นกล้วยไม้ที่ไม่มีน้ำหวานซึ่งเป็นอาหารของแมลง แต่ถ้าเราช่วยผสมเกสรด้วยมือ จะติดฝักทุกดอก ประวัติการค้นพบ: João de Loureiro นักพฤกษศาสตร์ชาวโปตุเกส ตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1790 ที่มาชื่อไทย: ลักษณะของลำต้นเหมือนลำต้นหวาย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัยหรือขึ้นตามซอกหิน ลำต้นยาว ใบ รูปขอบ ขนาน กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 7-8 ซม. ปลายใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อ แตกแขนง จากซอกใบ ดอกสีแดงเข้ม ขนาดบานเต็มที่กว้าง 3.5 ซม. กลีบเลี่ยงข้างรูปขอบขนาน ขอบกลีบบิดเป็นคลื่น กลีบปากมีขนาดเล็ก ปลายกลีบเป็นติ่งแหลม นิเวศวิทยา: พบตามแนวชายป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงประมาณ 500-1,400 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ออกดอกช่วง เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน การกระจายพันธุ์:จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: พบการติดฝักน้อยมาก เนื่องจากไม่มีน้ำหวานเป็นสิ่งล่อแมลง สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง:หวายแดง | Renanthera coccinea Lour. : BGO Plant Database-ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (qsbg.org)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Renanthera coccinea Lour.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง