เอื้องระย้า / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Carl(Karl) Ludwig von Blume (1796-1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน-ดัตช์ ต่อมา Johannes Jacobus Smith (1867-1947) นักพฤกษศาสตร์ชาวเบลเยียม เปลี่ยนชื่อเป็น Robiquetia spathulata ตีพิมพ์ในวารสาร Natuurkundig Tijdschrift voor Nederlandsch-Indië. ในปี 1912 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำต้นรูปทรงกระบอกห้อยลง ใบรูปแถบ ขนาด 2x10 เซนติเมตร หนาและแข็ง มีหลายใบ ปลายใบเว้าบุ๋ม ช่อดอกห้อยลง มีดอกจำนวนมาก เรียงแน่น ดอกสีเหลืองและแดง ขนาด 0.8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปรีกว้าง ปลาบกลีบมน กลีบดอกรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน กลีบปากอวบหนา สีเหลืองครีม มีเดือยดอกขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก ปลายมน นิเวศวิทยา: กล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าพรุตามที่ร่มรำไร ช่วงออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน การกระจายพันธุ์: อินเดีย (สิกขิม) พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส เอกสารอ้างอิง: พืชอนุรักษ์ในบัญชีไซเตส (CITES) กล้วยไม้ป่า ในผืนป่าตะวันออก ตอนที่ 1


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Robiquetia spathulata (Blume) J.J.Sm.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง