เอื้องนิ่มดอกขาว / -

กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นหนึ่งในกล้วยไม้จิ๋ว ที่มีขนาดเล็กมาก ต้องอาศัยการสังเกตดีๆ ตามเปลือกไม้หรือก้อนหิน มีลำลูกกล้วยขนาดเล็กลักษณะกลมแบนเกาะติดแน่นกับบริเวณพื้นผิวต้นไม้หรือแผ่นหิน เหมือนพระอินทร์มายิงกระสุนทิ้งไว้ ประวัติการค้นพบ: กล้วยไม้ชนิดนี้ถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งแรกว่า Eria perpusilla โดย Charles Samuel Pollock Parish และ Heinrich Gustav Reichenbach ในปี ค.ศ. 1874 และได้มีการย้ายกล้วยไม้ชนิดนี้ไปมาหลายสกุล กระทั่งล่าสุดในปี ค.ศ. 2014 กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Thelasis perpusilla โดยนักพฤกษศาสตร์ชื่อ Andre Schuiteman และ William Griffith นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ครั้งแรกด้วยชื่อ Euproboscis pygmaea ในปี ค.ศ. 1845 ต่อมาในปี ค.ศ. 1858 John Lindley นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ตั้งชื่อที่ยอมรับในปัจจุบัน ที่มาชื่อไทย: ลักษณะลำลูกกล้วยค่อนข้างกลม ที่ติดบนกิ่งไม้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยค่อนข้างกลมแป้นแบนราบไปตามผิวที่ยึดเกาะ ใบ มี 1-2 ใบ รูปรี มักทิ้งใบก่อนออกดอก ดอก ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อไม่แตกแขนง มีดอกย่อย 10-20 ดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอก และกลีบปากรูปไข่ นิเวศวิทยา: พบตามป่าผลัดใบ หรือป่าดิบแล้ง ทั่วประเทศ การกระจายพันธุ์: อินเดีย เนปาล ภูฐาน จีน ไต้หวัน เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: อยู่ในประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ เอกสารอ้างอิง: บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพกล้วยไม้ไทย Biodiversity (forest.go.th)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Thelasis perpusilla (C.S.P.Parish & Rchb.f.) Schuit.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง