เหยือกน้ำดอย / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบครั้งแรกโดย André Guillaumin (1885-1974) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ต่อมา Gunnar Seidenfaden (1908-2001) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้ย้ายสกุลและเปลี่ยนชื่อเป็น Acanthophippium gougahense ตีพิมพ์ที่ Contributions to a Revision of the Orchid Flora of Cambodia, Laos and Vietnam ในปี 1975 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดิน รากสั้น หัวเทียม รูปไข่ถึงรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ใบ มี 2-3 ใบ รูปรีถึงรูขอบขนาน กว้าง 7-8 เซนติเมตร ยาว 19-32 เซนติเมตร ปลายแหลม ก้านใบยาว 2-16 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่โคนลำลูกกล้วย ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร แกนช่อดอกสั้น แต่ละช่อมี 3-6 ดอก ใบประดับรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 18 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร ดอกสีขาว สีครีม หรือสีเหลือง มีเเถบสีน้ำตาลแกมเเดง กลีบเลี้ยงมีลักษณะมน กลีบเลี้ยงบนรูปขอบขนาน กว้าง 13-17 มิลลิเมตร ยาว 24-28 มิลลิเมตร ปลายกลีบโค้งลง โคนกลีบเชื่อมติดกัน โคนเส้าเกสรเป็นคางรูปทรงกลม กลีบดอกรูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-10 มิลลิเมตร ยาว 18-22 มิลลิเมตร ปลายมน กลีบปากแยกออกเป็น 3 แฉก สีขาว ด้านข้างมีเเต้มสีม่วง กลางกลีบสีเหลือง แฉกบนมีลักษณะคล้ายก้านกลีบ แฉกกลางรูปสามเหลี่ยม กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 4-5 มิลลิเมตร ปลายกลีบโค้งขึ้น แฉกข้างรูปขวาน กว้าง 5-9 มิลลิเมตร ยาว 5-8 มิลลิเมตร กลางกลีบเป็นสันมน 3 สัน เส้าเกสร ยาว 10-12 มิลลิเมตร โคนเส้าเกสรยาว 22-26 มิลลิเมตร ฝักรูปรี แห้งเเตก นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบชื้น ในจังหวัดเลยเเละจังหวัดจันทบุรี ที่ระดับความสูง 400-1,300 ม. ออกดอกเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม การกระจายพันธุ์: จีนตอนใต้ เวียดนาม ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: หนังสือกล้วยไม้ในกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว : สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (หน้า 29)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Acanthophippium gougahense (Guillaumin) Seidenf.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง