เอื้องเทียนไทย / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกตั้งชื่อโดย François Gagnepain นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์ในวารสาร Bulletin du Muséum National d’Histoire Naturelle ในปี ค.ศ. 1950 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำลูกกล้วยสีเขียวอ่อน รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 5-8 เซนติเมตร ใบมี 2 ใบ รูปใบหอก กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร ปลายแหลม แผ่นใบหนามีเส้นใบ ตามยาว 3 เส้น ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ฐานลำลูกกล้วย ก้านช่อดอกยาว 3-4 เซนติเมตร โคนก้านช่อมีการซ้อนทับกัน แต่ละช่อมี 2-5 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบ ดอกด้านข้างสีครีม กลีบเลี้ยงทั้ง 3 กลีบ รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกด้านข้างรูปแถบกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยาวเท่า ๆ กับกลีบเลี้ยงหรือสั้นกว่าเล็กน้อย แผ่กางออกปลายขึ้น กลีบปากสีขาว ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร มี 3 แฉก บริเวณคอกลีบปากและขอบหูกลีบปากมีแถบสีน้ำตาล แถบตรงคอกลีบปากมีลักษณะเป็นรูปตัววาย บริเวณกลางกลีบมีสันตามยาวชัดเจน 3 สัน เส้าเกสรสีเหลือง นิเวศวิทยา: กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญได้บนหิน บนในป่าดิบเขาตามที่โล่งแจ้งแสงรำไร ช่วงออกดอกเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ การกระจายพันธุ์: กล้วยไม้ถิ่นเดียวที่พบเฉพาะในประเทศไทย ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: พืชอนุรักษ์ในบัญชีไซเตส (CITES) กล้วยไม้ป่า ในผืนป่าตะวันออก ตอนที่ 1


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Coelogyne quadratiloba Gagnep.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง