ว่านพายแฉกน้อย / -

บนหินที่ชื้นๆ มีมอสปกคลุมหนาแน่น สังเกตดีๆ อาจจะพบกล้วยไม้จิ๋ว ที่ดูผิวเผินแล้วไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นกล้วยไม้เสียด้วยซ้ำ ว่านพายแฉกน้อย เป็นกลุ่มกล้วยไม้อัญมณี ที่ผิวใบสะท้อนแสงระยิบระยับ ดอกสีขาวส่วนโคนลักษณะเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉก ประวัติการค้นพบ: John Lindley ตั้งชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้ในปี ค.ศ. 1840 ที่มาชื่อไทย: ลักษณะของกลีบปากที่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดินขนาดเล็ก ชอบขึ้นตามหิน ลำต้นอวบรูปทรงกระบอก เป็นข้อปล้องชัดเจน ใบ รูปไข่ ปลายแหลม โคนใบตัดหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง มีขนาดเล็ก ดอก ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตั้งขึ้น มีดอกย่อย 1-2 ดอก สีขาว กลีบปากเป็น 2 แฉก กลางกลีบปากมีแต้มสีเขียวอ่อน 2 แต้มติดกัน นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 800-900 เมตร การกระจายพันธุ์: แถบฮิมาลัย อัสสัม บังคลาเทศ เมียนมาร์ จีนตอนใต้ ไทย ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง: orchidspecies.ocm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Cheirostylis pusilla Lindl.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง