พุ่มสุวรรณ / -

กล้วยไม้ดินที่ยังมีลักษณะที่โบราณของบรรพบุรุษของพืชวงศ์กล้วยไม้ปรากฏอยู่ จึงเรียกกล้วยไม้ในสกุลนี้ว่ากล้วยไม้โบราณ ลักษณะดังกล่าวคือ การไม่เห็นกลีบปากชัดเจน เกสรเพศผู้ยังมีละอองเรณู ไม่เหมือนกล้วยไม้ทั่วไปที่ละอองเรณูรวมเป็นก้อนเรณู เป็นต้น ประวัติการค้นพบ: Nathaniel Wallich นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้ตั้งชื่อพืชชนิดนี้เป็นครั้งแรกแต่ผิดกฏการตั้งชื่อ และต่อมา ในปี ค.ศ. 1875 John Gilbert Baker นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ถูกต้อง แต่ทั้งสองคนไม่คิดว่าพืชชนิดนี้จะเป็นกล้วยไม้ด้วยซ้ำ ต่อมาชื่อที่ยอมรับว่าถูกต้อง คือ ชื่อที่ตั้งโดย Eduard Ferdinand de Vogel ในปี ค.ศ. 1969 ที่มาชื่อไทย: มาจากชื่อดอกที่ออกเป็นพุ่มสีเหลืองสดใส ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดิน ลำต้นสั้น บางครั้งพบเห็นรากค้ำยันโผล่พ้นดิน ใบ เดี่ยว ออกเป็นกระจุก ใบอ่อนพับจีบคล้ายพัด รูปใบหอกกลับ ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อแน่น ดอกย่อยเหลือง กลีบรวม 6 กลีบ ลักษณะคล้ายกันทั้่ง 6 กลีบ มีเส้าเกสรเป็นแท่ง เห็นชัดที่ส่วนโคน เกสรเพศผู้ 3 อัน มีลักษณะเป็นอับเรณูยาวเรียว ภายในมีละอองเรณู ยอดเกสรเพศเมียเป็นแท่ง ผลค่อนข้างสด สีเหลือง มีขนปกคลุม เมล็ดสีดำเข็ม นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบเขา ที่โล่ง ความชื้นสูง ระดับความสูง 700-1,000 เมตร การกระจายพันธุ์: จีนตอนใต้ ฮ่องกง เวียดนาม ไทน บอร์เนียว มาเลเซีย และสุมาตรา ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: หายากในประเทศไทย เอกสารอ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Neuwiedia_zollingeri


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Neuwiedia zollingeri Rchb.f. var. singapureana (Wall. ex Baker) de Vogel

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง