หมากหมก

เป็นพืชดอก / ต้น : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร / ใบ : ใบมีความผันแปรมาก รูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปแถบ ปลายใบแหลมถึงแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มหรือเรียวสอบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน / ดอก : ช่อดอกออกตามซอกใบ / ใบ : ประดับรูปไข่กว้าง ปลายแหลม สีเขียวอ่อน ดอก มี 3 ดอก กลีบรวมเป็นหลอดสั้นๆ ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ติดบนจานฐานดอกรูปถ้วย กลีบรวมสีเหลืองหรืออมส้ม ส่วนมากมี 4 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4.5 มิลลิเมตร กลีบรูปไข่ ปลายกลีบแหลม เกสรเพศผู้ติดใต้ขอบจานฐานดอก ตรงข้ามกลีบรวม ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร / ผล : ผลสุกสีแดง รูปรี ก้านผลหนา || การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ในไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้ขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขาทางภาคเหนือและป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ชอบที่เป็นหินปูน || สรรพคุณ/การใช้ประโยชน์ : หมากหมก ผักภูมิ หรือผักหวานใบแหลม นิยมใช้ยอดอ่อนมาเป็นผักลวก หรือนำมาผสมกับหัวมันสำปะหลัง รวมกับกะทิแล้วต้ม รับประทานกับน้ำพริก นำใบมาใส่ในแกงส้ม หรือนำยอดอ่อนมาแกงเลียง ใส่กุ้งสดตัวใหญ่ นับเป็นเมนูเด็ดพื้นถิ่นที่หารับประทานได้เฉพาะถิ่น เฉพาะที่เท่านั้น นอกจากนี้หมากหมกยังมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงกำหนัด ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว วิธีใช้นำรากหรือทั้งต้นตากจนแห้งแล้วใช้ประมาณ 1 กำมือ ต่อน้ำ 1 ลิตร มาต้มให้เดือด โดยให้น้ำเหลือ 2/3 ส่วน แล้วนำมาดื่มอุ่นๆ ครั้งละ ½-1 แก้วชา วันละ 2 เวลา เช้าเย็นหลังอาหาร (รับประทานตามที่หมอสั่ง หากมีโรคประจำตัวไม่ควรรับประทาน) (อ้างอิง ; 1.https://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&id=1344)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Lepionurus sylvestris Blume.

ชื่อท้องถิ่น = หมากหมก