หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาซิลิส

หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินแมลง จัดอยู่ในวงศ์ Nepenthaceae สกุล Nepenthes มีความ หลากหลายของพืชระดับโลก คือ 1 สกุล Nepenthes L. ประมาณ 150 ชนิด ในประเทศไทยจากการตรวจ ตัวอย่างพรรณไม้แห้งในหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF) พบประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ Nepenthes ammpullaria Jack, N. gracilis Kort., N. mirabilis (Lour.) Druce, N. smilesii Hemsl., N. sanguinea Lindl. และ N. thai Cheek ปัจจุบันต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลาย ๆ สายพันธุ์ลดจำนวนลงในธรรมชาติ เนื่องจากถูกลักลอบขุดจากธรรมชาติมาปลูกเป็นไม้ประดับ และ ถิ่นอาศัยถูกทำลายเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พืชสกุล Nepenthes ส่วนใหญ่กระจายในเขตพื้นที่ป่าพรุ พื้นที่ลุ่ม หรือป่าดิบเขาทางภาคใต้ของประเทศไทย ในสภาพที่ดินมีอาหารต่ำ ดินเป็นกรด มีความชื้นสูง ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงในจังหวัดสตูล สมัยก่อนได้พบตามแหล่งธรรมชาติ ห้วยหนอง คลองบึง ปัจจุบันหม้อข้าวหม้อแกงลิงในธรรมชาติของจังหวัดสตูลก็มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการขยายของสวนยางพารา และการทำเกษตร


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Nepenthes gracilis Korth.

ชื่อท้องถิ่น = หม้อลิงกับหม้อข้าง ภาษาพื้นถิ่น เรียกว่า หม้อลิงกับหม้อข้าง เกิดจากการเรียกหม้อที่อยู่ด้านล่าง กับหม้อที่อยู่ด้านบน

หมายเหตุ = ลำต้น : ลำต้นทรงสามเหลี่ยมยาวไม่เกิน 6 มม. หนาไม่เกิน 5 มม. ระยะระหว่างปล้องไม่เกิน 10 ซม. แผ่นใบหนาเหมือนภาพยนตร์ยาวไม่เกิน 12 ซม. กว้างไม่เกิน 2 ซม. / ใบ : ใบเรียวแหลมไม่มีก้านใบ สายดิ่งยาว 15 ซม. จากลำต้นไปยังก้านใบที่มีลักษณะใบคล้ายกับสกุลส้ม ยาวไปจนสุดเป็นสายดิ่งซึ่งบางสายพันธุ์ใช้เป็นมือจับยึดเกี่ยว แล้วจบลงที่หม้อซึ่งเป็นใบแท้แปรสภาพมา หม้อเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆ โตขึ้นอย่างช้าๆ จนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูปหลอด / หม้อ : หม้อล่างก้นหม้อเป็นกระเปาะ สูงไม่เกิน 10 ซม. กว้างไม่เกิน 3 ซม. ช่วงบน 2 ใน 3 ส่วนของหม้อเป็นทรงกระบอกแคบ มีปีก 1 คู่ กว้างไม่เกิน 3 มม. ด้านหน้า ปากหม้อกลม || สรรพคุณ/การใช้ประโยชน์ : ข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ "เหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง" เป็นขนมพื้นเมืองทางภาคใต้ โดยนำกระเปาะหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาใช้เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวมูน จากนั้นนำไปนึ่ง เหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิงสามารถรับประทานหม้อข้าวหม้อแกงลิงเข้าไปได้เลย ให้รสชาติสัมผัสเหมือนเยื่อไผ่ตอนรับประทานข้าวหลาม จัดเป็นขนมที่มีเอกลักษณ์มาก เดิมขนมชนิดนี้จะทำขึ้นเพื่อนำไปประกอบงานบุญ หรือต้อนรับญาติ ลูกหลานที่เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านในช่วงเทศกาล และกาซิลิส เป็นหนึ่งในต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สามารถนำมาห่อข้าวเหนียวมูลได้ ปัจจุบันขนมชนิดนี้จะหารับประทานยากแม้ในจังหวัดสตูลก็ตาม สวนควนข้องหม้อข้าวหม้อแกงลิง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 8 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ดูแลโดย นายวรวิทย์ ควนข้อง หมายเลขโทรศัพท์ 08-10971684 ได้ทำการเพาะเลี้ยง สะสม และได้จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องหม้อข้าวหม้อแกงลิงสวนควนข้อง โดยเปิดให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปได้เข้าไปเยี่ยมชม และเปิดโอกาสให้ได้ปรุงข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิงด้วยตนเอง หนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการบริเวณอุทยานธรณีโลกสตูลที่ไม่ควรพลาด