ชะงดเขา

ต้น เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นใต้ดิน สูง 25-75 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบแกมรูปขอบขนาน กว้าง 8.5-10.5 เซนติเมตร ยาว 27-31 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน ก้านใบยาวหุ้มที่ใกล้ปลายยอด ยาว 15-16 เซนติเมตร กาบใบรูปขอบขนานเป็นติ่งแหลมคล้ายกระดาษสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบเป็นร่องตื้น เส้นใบแตกแบบขนนก โคนใบเรียวลู่ไปยังก้านใบซึ่งเป็นร่อง ใบอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ดอก ออกดอกเป็นช่อ แบบเชิงลด ออกดอกที่ซอกใบ กาบหุ้มช่อดอกสีเขียว ก้านช่อดอกสีเขียวขอบสีขาว ช่อเชิงลดมีกาบอ้วนสั้น ขนาดเกือบเท่ากับกาบ ดอกเพศผู้เกือบแหลม รังไข่มีช่องเดียว ยอดเกสรเพศเมียแบน กว้างกว่ารังไข่ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม–เดือนกรกฎาคม ผล ผลเป็นรูปกลมค่อนข้างรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.8 เซนติเมตร ยาว 0.8-1.2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีขาวอมเหลือง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีส้ม มี 1 เมล็ด รูปรีคล้ายถั่วเขียว สรรพคุณและการใช้ประโยชน์ของชะงดเขา ลำต้น ใช้บำรุงกำลังและแก้ริดสีดวงทวาร ผล เป็นยาอายุวัฒนะ แก้เหงือกบวม ปวดฟัน และขับพยาธิในลำไส้


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Aglaonema nitidum (Jack) Kunth

ชื่อท้องถิ่น = กวัก

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง