ฐานการเรียนรู้ การทอผ้าไหมพื้นบ้าน

ฐานเรียนรู้ ๑
มรดกภูมิปัญญาผ้าไหมพื้นบ้าน


ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมู่ที่ ๑ บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย
จังหวัดร้อยเอ็ด(ทางเข้าหมู่บ้าน)

ความเป็นมา
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหมู่ที่ ๑ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ มีสมาชิกเริ่มก่อตั้งจำนวน ๖๙ คน ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน ๑๔๕ คน มีวัตถุประสงค์ของกลุ่มเพื่ออนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหมพื้นบ้าน เพื่อเพิ่มพูนรายได้เสริมจากการทำนา และเพื่อร่วมกันบริหารจัดการกลุ่มผ้าไหมให้มีความเข้มแข็ง

กิจกรรมของกลุ่ม
ร่วมกันทอผ้าไหมพื้นบ้าน ทั้งผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติและสีเคมี การจัดแสดงผ้าไหมลวดลายและรูปแบบต่างๆ ที่เป็นผลงานและฝีมือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรการจัดแสดงผ้าไหมลวดลายและรูปแบบต่างๆ ที่เป็นผลงานและฝีมือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร การจำหน่ายผ้าไหมและยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจภูมิปัญญาชาวบ้านเช่น การสาธิตการทอผ้า ย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ การมัดหมี่ การค้นหูก เป็นต้น :ซึ่งเป็นการเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เป็นกันเองเลือกซื้อต่อรองราคาจนพอใจจึงตัดสินใจซื้อ

รูปแบบผ้าไหมและการขาย
การฝากขายที่ศูนย์จำหน่ายผ้าไหม ราคาขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลาย ซึ่งจะอยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ บาท ถ้าเป็นผ้าชุด ( ผ้าสีพื้น ๒ เมตร ผ้าลายมัดหมี่ ๒ เมตร ) ราคา ๔,๐๐๐ – ๔,๕๐๐ บาท โดยสีธรรมชาติจะแพงกว่าสีเคมี ผ้าพื้นเรียบราคาเมตรละ ๘๐๐ บาท นอกนี้นำไปจำหน่ายตามงานเทศกาลที่ทางราชการจัดขึ้น

แม่มาลัย ราบุรี ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร


คณะกรรมการบริหาร
นายมาลัย ราบุรี ประธานกรรมการ นางทวี บำเรอ รองประธานกรรมการ นางสัมฤทธิ์ แสงพารา รองประธานกรรมการ นางสมหวัง พนมบุตร นางรัศมี เชิดชู นางบุญทัน สุวงศ์สา นางไพฑูรย์ ดีพลงามนางเพ็ญมาลี คำภูเมือง เหรัญญิก นางสอาด สีนาทนาวา กรรมการและเลขานุการ

ลักษณะเด่นผ้าไหมบ้านกู่กาสิงห์
ลักษณะเด่นคือลวดลายผ้าไหมละเอียดสวยงาม เนื้อผ้าไหมละเอียดทอเนื้อแน่น สีของผ้าไหมไม่ตก กลุ่มแม่บ้านมีอัธยาศัยและมีน้ำใจดี มีจิตเป็นสาธารณะ

ผลงานที่ภาคภูมิใจของกลุ่ม
๑). ปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ ได้รับโล่รางวัลจากมูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บูรฉัตร สาขาหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น
๒). ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ ได้รับรางวัลประกวดผ้าไหมมัดหมี่ ๒ ตะกรอสีธรรมชาติ รางวัลที่ ๑ ในการประชุมไหมโลกครั้งที่ ๑๙ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
๓). ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ ได้รับรางวัลที่ ๑ ในการประกวดกลุ่มแม่บ้านดีเด่นระดับจังหวัด
๔). ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ชุมชน ผ้ามัดหมี่หางกระรอก มาตรฐานที่ ๑๗( ๑ ) ๒๕๔๖ ๕).
๕. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ ๔ ดาว ตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗

สถานที่จัดเก็บต้นฉบับ