ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ( Thung Kula Rong-Hai Thai Hom Mali Rice : TKR ) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกใน พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ข้าวเปลือกมีสีฟาง เมล็ดข้าว ยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม มีความยาวมากกว่า 7.0 มิลลิเมตร สัดส่วนความยาวต่อความกว้าง มากกว่า 3.2 มีท้องไข่ น้อยกว่าร้อยละ 6
 
ความสัมพันธ์กับแหล่งภูมิศาสตร์
พื้นที่เพาะปลูกอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ รายละเอียดตามแผนที่ ประกอบด้วย
1.จังหวัดร้อยเอ็ดประกอบด้วย ตําบลที่อยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอําเภอเกษตรวิสัย อําเภอสุวรรณภูมิ อําเภอ ประทุมรัตต์ อําเภอโพนทราย และกิ่งอําเภอหนองฮี จํานวน 986,807 ไร่
2.จังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วย ตําบลที่อยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอําเภอท่าตูม และอําเภอชุมพลบุรี จํานวน 575,993 ไร่
3.จังหวัดศรีสะเกษประกอบด้วย ตําบลที่อยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในอําเภอราษีไศล และกิ่งอําเภอศิลาลาด จํานวน 287,000 ไร่
4.จังหวัดมหาสารคามประกอบด้วย ตําบลที่อยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอําเภอพยัคฆภูมิพิสัย จํานวน 193,890 ไร่
5.จังหวัดยโสธรประกอบด้วย ตําบลที่อยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ในอําเภอมหาชนะชัย และอําเภอค้อวัง จํานวน 64,000 ไร่
 
คุณค่าทางโภชนาการ
ประโยชน์และสรรพคุณของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย 
•	แกมมาออไรซานอล 
•	ธาตุเหล็ก 
•	แคลเซียม 
•	สังกะสี 
•	ทองแดง 
•	โพแทสเซียม 
•	วิตามินบีหลายชนิด 
•	โปรตีนสูง 
•	ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด 
•	สร้างเม็ดโลหิต 
•	ป้องกันโรคโลหิตจาง

สถานที่จัดเก็บต้นฉบับ