บ้านเรือนไทยภาคใต้

ชื่อเจ้าของ

นาย กฤษฎากร อั๋นวงษ์

ประวัติเจ้าของ

เป็นผู้ประดิษฐ์บ้านเรือนไทยซึ่งทำจากกระดาษได้เริ่มทำการศึกษาและประดิษฐ์บ้านทรงไทยกระดาษมาเป็นเวลา 14 ปี เริ่มจาก อาจารย์ เทพาวุฒิ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้คิดค้นการทำบ้านทรงไทยกระดาษ โดยมีผู้ช่วยคือ นาย กฤษฎากร อั๋นวงษ์ ซึ่งตอนแรกได้มีการทดลองทำวัสดุจาก ไม้ และ ดิน แต่พบว่าเกิดปัญหาของอุปกรณ์และความคงทนที่ไม่แน่นอน จึงมีการคิดค้นวิธีการทำบ้านทรงไทยจากกระดาษซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลตอบรับที่ดีเนื่องจากอุปกรณ์สามารถหาได้ง่ายและตอบโจทย์สำหรับทุกเพศทุกวัยที่ต้องการจะเรียนรู้วิธีการทำบ้านทรงไทยกระดาษ ทั้งหมดนี้จึงถือเป็นการสร้างงานอนุรักษ์ศิลปะเมืองไทยให้คงอยู่ต่อไป

ประวัติวัตถุจัดแสดง

บ้านเรือนไทยภาคใต้ ภูมิอากาศของภาคใต้ มีอากาศร้อนและฝนตกชุกชุม มีความชื้นสูง มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และ ฤดูร้อน โดยเรือนไทยภาคใต้มีลักษณะเด่นคือ 1). ปลูกเรือนโดยไม่ได้ฝังเสาลงดิน 2).จั่วปิดหลังคา มีความนิยมทำปลายเสาล้มเข้าข้างในเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ฝาเรือนที่ยกขึ้นวางตั้งบนหลังพรึงและไม่แบะออกจากเรือน สาเหตุที่ต้องทำหลังคาให้ลงมาถึงตัวบ้าน เพราะจะได้กันฝนสาดเนื่องจากภาคใต้เมื่อถึงฤดูฝน ฝนก็จะตกเป็นเวลานานและสาเหตุที่ไม่ฝังเสาบ้านลงพื้นเพราะจะได้ยกใต้ถุนบ้านให้สูงขึ้นกว่าบ้านภาคอื่นเป็นปกติ ถ้าน้ำท่วมจะได้ไม่ขึ้นตัวบ้าน เรือนนี้เรียกว่า เรือนสตูล

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

อาจารย์ เทพาวุฒิ เทพหัสดิน ณ อยุธยา