บ้านเรือนไทยภาคกลาง

ชื่อเจ้าของ

นาย กฤษฎากร อั๋นวงษ์

ประวัติเจ้าของ

เป็นผู้ประดิษฐ์บ้านเรือนไทยซึ่งทำจากกระดาษ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

บ้านเรือนไทยภาคกลางมี 3 ฤดู ฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน ลักษณะจะยกใต้ถุนสูง โดยมีระเบียงนอกชานไล่ระดับ การลดระดับพื้นเช่นนี้ จะช่วยให้ลมพัดจากใต้ถุนขึ้นมา ด้านบนใต้ถุนจะสูงจากพื้นดินเสมอคนยืนทำให้ไม่อบอ้าวเพราะมีอากาศไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา เรือนไทยภาคกลาง ยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลดหลั่นกัน ปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ดังนี้ คือ ช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมาข้างบน สามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้นล่างได้ และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตรไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จาก แฝกหรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคา ทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พักอาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้า จั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศ โดยใช้ไม้ตีเว้นช่องหรือ ทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก ชายคากันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด ชานกว้าง โดยทั่วไปมีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วยจะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 พื้นที่นี้เป็นส่วนอาศัยภายนอก ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝา กั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก เพราะดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าว รูปทรงเป็นทรงล้มสอบ หลังคาสูงชายดายื่นยาวเพื่อกันฝนสาด แดดส่องพื้นที่ด้านล่างไว้ใช้เก็บเครื่องมือที่ใช้ในการทำกสิกรรม ป้องกันสัตว์ร้ายได้ด้วย เรือนแบบนี้เรียกว่า เรือนเดี่ยว