คนโทหรือน้ำต้น


คนโทหรือน้ำต้น เป็นลายขูด ของวัวลาย เครื่องเขินทำโดยเชื้อสายไทยเขิน อยู่ที่วัวลาย นันทราม มีชุมชลไทยเขิลที่แถวต้นแหน สันป่าตอง แม่วาง 80-90 ปี คนโท หรือน้ำต้นเครื่องเขินทำมาจากไม้ขดเป็นการขูดลายแบบนันทารามเชียงใหม่ นิยมใช้วัสดุสีน้ำมันร่วมกับยาเคลือบผิวด้วยสมุกรักและขูดลาย ตีนขดเส้นตอกทาชาดแดง ตัวน้ำต้มถมรักดำแดงแบบฮายลาย คอน้ำต้นทรงกระบอกขูดลายดอกไม้ดำแดง ปากน้ำต้นเรียบเสมอกันเรียกว่าปากเบี่ยง


แอ๊บหมาก


แอ๊บหมาก แอ๊บใส่ของต่างๆ ใส่ยาเส้น ของมีค่าเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 80-90 ปี มีลักษณะการขึ้นรูปทรงที่ละเอียดประณีตบอบบางด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ที่เล็ก เคลือบผิวด้วย “สมุกรัก” แล้วขัดให้เรียบ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการตกแต่งด้วยการทารักเกลี้ยงแล้วเขียนลายด้วยเหล็กปลายแหลมเกิดเป็นเส้นสายลวดลายต่างๆ โดยเฉพาะลวดลายพันธุ์พฤกษา ต่อมาจึงใช้สีแดงของชาดทาถมฝังลงในร่องรอยที่เกิดจากการเขียนลายที่เรียกว่าการ “ควัด” หรือการ “ฮายดอก” ผิวภาชนะจะเรียบเนียนน่าสัมผัสสีสันดูนุ่มนวล โดยคุมน้ำหนักของเส้นสีและพื้นลายด้วยโครงสีแดงดำ เท่านั้น แอ็บหมาก มีลักษณะโดดเด่นที่รูปทรงเรียบง่าย พื้นผิวและลวดลายนุ่มนวลน่าสัมผัส โดยตัวแอ็บและฝาปิดจะสวมเข้าด้วยกันพอดีเป็นทรงกระบอกทั้งแบบฝาสั้นและฝาสูง ซึ่งด้านในของตัวแอ็บจะมีถาดตื้นๆ แทรกอยู่อีก 1 ชั้นสำหรับบรรจุสิ่งของได้พอสมควร ชั้นล่างสุดถัดจากถาดรองแล้วจะเป็นพื้นที่กว้างพอที่บรรจุเครื่องกินหมากเอาไว้


ขันหมากแบบกระโถน


ขันหมากแบบกระโถน และชุดแอ็บหมาก เป็นลายขูด ของวัวลาย อายุประมาณ 70-80 ปี ขันหมากเป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องกินหมาก ที่ประกอบด้วย ยาฉุน หมากแห้ง หมากสด ปูน สีเสียด เปลือกไม้ ใบพลู วัฒนธรรมการกินหมากในเอเชียอาคเนย์รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย และในบางท้องถิ่น ยังเป็นที่นิยมจนกระทั่งในปัจจุบัน สมัยก่อนชาวล้านนากินหมากแบบของกินเล่นจนกลายเป็นกิจกรรมในสังคม ดังนั้นทุกคนเรียนต่างมีขันหมากประจำบ้านและบางครอบครัวอาจมีขันหมากมากกว่า 1 ชุด


เชี่ยนหมากแบบกระโถน,ขันหมาก


เชี่ยนหมากแบบกระโถน และชุดแอ็บหมากเงิน ลวดลายภาคกลาง รูปทรงภาคกลาง 50 ปี ขันหมากเป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องกินหมาก ที่ประกอบด้วย ยาฉุน หมากแห้ง หมากสด ปูน สีเสียด เปลือกไม้ ใบพลู วัฒนธรรมการกินหมากในเอเชียอาคเนย์รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย และในบางท้องถิ่น ยังเป็นที่นิยมจนกระทั่งในปัจจุบัน สมัยก่อนชาวล้านนากินหมากแบบของกินเล่นจนกลายเป็นกิจกรรมในสังคม ดังนั้นทุกคนเรียนต่างมีขันหมากประจำบ้านและบางครอบครัวอาจมีขันหมากมากกว่า 1 ชุด


เชี่ยนหมากแบบกระโถน หรือขันหมาก


ขันหมาก เชี่ยนหมาก ของบ้านต้นแห่ สันป่าตอง อายุประมาณ 70-80 ปี ข้างบนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเชี่ยนหมาก เป็นขันหมากแบบแต้มดอกขลิบทอง กลุ่มสันป่าตองเป็นกลุ่มที่มีช่างแต้มดอกฝีมือดีมากของล้านนาเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายชาวไทเขิน ลวดลายในกลุ่มนี้ใช้วิธีแต้มรักผสมชาดแดงและเขียนลายทองเป็นเส้นขอบของลาย ใช้ป้ายพู่กันแหลมเล็กทำให้ลวดลายคมชัด ลวดลายที่นิยมมากคือลายดอกไม้ 4 กลีบซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอย่างยิ่ง


เครื่องเขินช้าง


เครื่องเขินช้าง ของที่ละลึกยุคหลังประมาณ 50 ปี เป็นการพัฒนาจากเครื่องเขินต่างๆมากมาย เช่น กระเป๋า ที่เขี่ยบุหรี่ ชิ้นนี้เป็นกล่องใส่ของรูปช้าง


พานโต๊ะ


พานทางภาคกลาง เรียกว่าพานโต๊ะ ขันโต๊ะ ลายขูดปั้นรักใส่กรอบ อายุประมาณ 60-70 ปี มีการปั้นรักกระแหนะแต่งขอบพาน ลายฮายดอก


กระโถนลายขูด


กระโถนลายขูด อายุประมาณ 40-50ปี งานทำเลียนแบบมาจากภาคกลาง


กระโถน


กระโถน อายุประมาณ 40-50ปี งานทำเลียนแบบภาคกลาง มีลายทอง และลายรถน้ำ เป็นรักแล้วลงทองปิด ได้อิทธิพลจากภาคกลาง


ขันปากปิง หรือ ซ้าปากปิง


ขันปากปิง หรือ ซ้าปากปิง อายุประมาณ 40-50 ปี ทำเลียนแบบภาคกลาง มีลายทองลายลูกน้ำ และลายขูด ลงรักและแต้มลงรักแล้วใช้แผ่นทองปิดเป็นลายไทยภาคกลาง ได้อิทธิพลของทางกรุงเทพ


ขันซ้าป้อม


ขันซ้าป้อม ของไทยเขิน เมืองเชียงตุง เทคนิกการทำปั้นรัก แล้วปิดทองเข้าไป ปั้นรักลายนูนปิดด้วยทอง สายใส่ไว้ใช้คล้องแขนหิ้ว อายุประมาณ 60-70 ปี ซ้าป้อมคำ หรือตะกร้าเครื่องเขินแบบดั้งเดิมของชาวเชียงตุงซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากแล้วในสังคมวัฒนธรรมเชียงตุง เป็นภาชนะที่ใช้สะพายใส่ของไปทำบุญ มีลักษณะเด่นด้วยการเคลือบยางลักตกแต่งด้วยลวดลายเส้นรักกระแหนะเป็นลวดลายพรรณพฤกษา ภายนอกตกแต่งลวดลายเป็นรูปใบสะหลี๋ หรือใบโพธิ์ พร้อมการปิดทองคำเปลว


ขันหมาก 12 เหลี่ยม


ขันหมาก 12 เหลี่ยม อายุประมาณ 70-80 ปี ขันหมากเหลี่ยม เป็นรูปทรงที่นิยมในกลุ่มชนในเวียง เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ โดยเฉพาะชนชั้นสูง เนื่องจากมีขั้นตอนการทำโครงสร้างหลายขั้นตอนโดยมีรูปทรงเหลี่ยมแบบพิเศษแตกต่างจากชาวบ้านทั่วไป คือเป็นขันธ์ทรงเหลี่ยมที่หักตอกเป็นเหลี่ยมขณะขึ้นโครง


สะลุ้งลายขูด หรือขันโอ


สะลุ้งลายขูด หรือขันโอ วิธีการลงรักลงชาติ ลงชาติก่อนลงรัก แล้วเอาเหล็กขูดรัก ก็จะเห็นชาติสีแดงข้างใน ทำแถววัวลาย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัวลายเลย อายุประมาณ 60-70 ปี มีลวดลายแบบฮายดอก มีโครงสร้างไม้ไผ่ที่เบาบาง แข็งแรง รูปทรงค่อนข้างเรียบง่าย ตกแต่งผิวด้วยลวดลายดอกก๋ากอกเล็กๆ โดยการขูดขีดผิวรักและถมสีชาดแดง มีชื่อเรียกในพื้นถิ่นว่าการฮายดอก ผิวภาชนะจะเรียบเนียนน่าสัมผัส สีสันแลดูนุ่มนวล โดยคุมน้ำหนักสีจากการใช้สีดำและสีแดงเท่านั้น ขันโอเป็นภาชนะเครื่องสานไม้ไผ่รูปทรงกลมป้อมปากกว้าง ในงานพิธีกรรมต่างๆโอขนาดเล็กก็สามารถถือหรืออุ้มได้


หีบผ้าใหม่ 6 เหลี่ยม


หีบผ้าใหม่ 6 เหลี่ยม อายุประมาณ 70-80 ปี หีบผ้าใหม่เป็นของใช้สำหรับใส่เสื้อผ้าหรือของใช้มีค่า เนื่องจากวัฒนธรรมล้านนาไม่มีเครื่องเรือนเหมือนอย่างจีนหรือยุโรป ประกอบกับของใช้สำคัญก็มีไม่มากนัก การจัดเก็บจึงใช้หีบผ้าซึ่งก็สะดวกต่อการดูแลรักษาหรือการเคลื่อนย้ายโครงสร้างและรูปทรงส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่สานขดแต่ต่อมาก็เป็นไม้ซึ่งทำให้มีความทนทานมากยิ่งขึ้น ลวดลายที่ปรากฏบนหีบผ้าคล้ายคลึงกับลวดลายของขันหมากเขียนลวดลายสวยงามด้วยการแต้มเป็นรายการหดบางทีรายดอกไม้ บนฝามีการแต้มทองบ้าง ภายในหีบผ้านิยมทารักดำและชาดแดง


หีบผ้าใหม่ 8 เหลี่ยม


หีบผ้าใหม่ 8 เหลี่ยม รุ่นกลาง อายุประมาณ 40-50 ปี หีบผ้าใหม่เป็นของใช้สำหรับใส่เสื้อผ้าหรือของใช้มีค่า เนื่องจากวัฒนธรรมล้านนาไม่มีเครื่องเรือนเหมือนอย่างจีนหรือยุโรป ประกอบกับของใช้สำคัญก็มีไม่มากนัก การจัดเก็บจึงใช้หีบผ้าซึ่งก็สะดวกต่อการดูแลรักษาหรือการเคลื่อนย้ายโครงสร้างและรูปทรงส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่สานขดแต่ต่อมาก็เป็นไม้ซึ่งทำให้มีความทนทานมากยิ่งขึ้น ลวดลายที่ปรากฏบนหีบผ้าคล้ายคลึงกับลวดลายของขันหมากเขียนลวดลายสวยงามด้วยการแต้มเป็นรายการหดบางทีรายดอกไม้ บนฝามีการแต้มทองบ้าง ภายในหีบผ้านิยมทารักดำและชาดแดง


ขันเอว


ขันเอวธรรมดา แบบมาตราฐาน ไม่มีลวดลาย อายุประมาณ 80-90 ปี วิธีทำ นำไม้แห้งมาตัดเป็นท่อน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนมีขนาดบางทำให้จักสานได้ง่าย ขึ้นรูปภาชนะด้วยการขดแล้วนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปเสร็จแล้วมาทาขี้เลื่อย ซึ่งขี้เลื่อยนี้เป็นขี้เลื่อยไม้สักผสมกับกาวลาเท็กซ์เมื่อทาเสร็จแล้วรอให้แห้งแล้วนำมาขัด ทาทับด้วยดินสอพองที่ผสมด้วยกาว เมื่อแห้งก็นำไปลงสี


ขันซี่ไม้กลึง


ขันซี่ไม้กลึง อายุประมาณ 80-90 ปี เป็นขันไม้กลึงทาด้วยรักและชาด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือตีนขัน เอวขัน และปากขัน ชิ้นที่ 1 ทรงเตี้ยเอวขันกว้าง หรือเรียกว่าขันแอวอู เอวขัน กลึงไม้ลูกติ่งเป็นซี่ ๆ เรียงกันเป็นส่วนเอวของขัน ปากขัน รูปบัวหงายคั่นลายลวดบัว 3 ชั้นต่อจากส่วนเอว ปากขันกลึงเป็นขอบหนา ใช้สำหรับใส่ข้าวตอก ดอกไม้ และธูปเทียน


ขัน 12 เหลี่ยม


อายุประมาณ 80-90 ปี เป็นขันที่ขึ้นรูปจากไม้ไผ่เป็นเส้น เอามาคดขึ้นจนเป็นรูปร่าง


ขันเคียน หรือ ขันดอกไม้กลึงลายทองฉลุ


ขันเคียน หรือ ขันดอกไม้กลึงลงรักลงชาติปิดทอง ท้องถิ่นเรียกกันว่า ขันเอว ชาติพันธ์ไทยยวน ลวดลายส่วนมากเป็นดอกไม้ กลึงลายทองฉลุ เป็นของใช้รูปทรงคล้ายพานในภาคกลาง มีหน้าที่ใส่ของเช่นใส่ ดอกไม้ ข้าวตอก ธูปเทียน เครื่องหอมถวายพระ