วัดเขาเก้าแสน

ชื่อแหล่งข้อมูล		วัดเขาเก้าแสน ตำบลเขารูปช้าง
วันที่เก็บข้อมูล		2/04/2564
ที่อยู่ หรือที่ตั้ง		อําเภอ หมู่ 3, ตําบล ตำบล เขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000
พิกัด ละติจูด		7.1817548
ลองจิจูด		       100.6195106
รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ)		
	วัดเขาเก้าแสน  วัดเก่าแก่ของจังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองไม่ไกลจากหาดสมิหลา เป็นสถานที่ติดกับริมทะเลได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างทางเดินให้กับนักท่องเที่ยว สามารถเดินได้อย่างสะดวกไปยังบริเวณ หินศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่ริมผา ชื่อว่า  “หัวนายแรง” เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่บนยอดเขาทำให้สามารถมองเห็นวิวของมองเห็นวิวทิวทัศน์ของชายหาดแหลมสมิหลา และเกาะหนูเกาะแมวสัญลักษณ์ของแหลมสมิหลาได้อย่างสวยงาม สามารถเดินลงไปชายหาดเพื่อสัมผัสหาดทรายสีขาวสะอาดได้อย่างเพลิดเพลิน รวมทั้งเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยแห่งหนึ่ง
บรรยาย
	ตำนานหัวนายแรง  เรื่องเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งที่เมืองพัทลุง มีสามี ภรรยาคู่หนึ่งอยู่ด้วยกันเป็นเวลาช้านาน แต่ยังไม่มีลูก จึงพากันไปหาสมภารที่วัด สมภารจึงแนะนำให้ไปหยิบก้อนกรวดที่ริมบ่อน้ำ นำไปห่อผ้าขาววางไว้ใต้หมอนแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอลูก
          ไม่ช้าภรรยาก็ตั้งครรภ์ และคลอดออกมาเป็นลูกชาย ชาวบ้านก็แตกตื่นกันมาดูเพราะทารกโตเกือบเท่าเด็ก 1 ขวบ ชื่อนายแรง และกินอาหารจุกว่าทารกปกติ ด้วยความผิดปกติของลูก ในที่สุดพ่อแม่ก็ยากจนลง จึงคิดที่จะฆ่าลูกชายเพราะไม่สามารถเลี้ยงดูต่อไปได้ ความพยายามฆ่าลูกชายเกิดขึ้นหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ นายแรงสามารถกลับมาที่บ้านได้ทุกครั้ง พ่อแม่ก็สำนึกผิดเลยเต็มใจเลี้ยงต่อไป นายแรงสงสารพ่อแม่ที่ตนเองเป็นต้นเหตุให้ยากจน จึงรับอาสาทำงานทุกอย่างเพื่อแลกกับอาหารมาเลี้ยงดูพ่อแม่
	ครั้งหนึ่งเมืองในแถบมลายูซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยเกิดแข็งเมือง นายแรงอาสาไปรบศึกด้วย โดยเป็นกองหน้า และสามารถบุกตะลุยข้าศึกจนได้รับชัยชนะ นายทัพฝ่ายไทยจึงแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง
	ครั้นทางเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมือง ทางปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปร่วมบรรจุด้วย เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะเดินทาง เรือสำเภาถูกคลื่นลมพัดกระหน่ำจนชำรุด จึงต้องแวะเข้าจอดยังชายหาดแห่งหนึ่งเพื่อซ่อมแซม            
	 หลังซ่อมแซมเสร็จ ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนเขาลูกหนึ่ง แล้วสั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้บนยอดเขา เขาลูกนี้ภายหลังจึงเรียกว่า “เขาเก้าแสน” และเพี้ยนมาเป็น “เก้าเส้ง” ในเวลาต่อมา และก้อนหินที่ปิดทับอยู่บนยอดเขา เรียกว่า “หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญาณของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์จวบจนทุกวันนี้