น้ำปูนใส

น้ำปูนใส หรืออีกชื่อคือสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซต์ (CA(OH)2) หรือสารละลายของปูนขาว (CaO) 

ขั้นตอนการทำน้ำปูนใส
1. เผาหินปูน หรือเปลือกหอยจนได้ผง หรือเกล็ดสีขาวขุ่นเรียกว่าปูนขาว 
2. นำผงปูนขาวมาละลายในน้ำ หรือผสมกับขมิ้น (สารที่ให้สีเหลืองในขมิ้นเมื่อสัมผัสกับความเป็นด่างในปูนขาวจะกลายเป็นสีแดงระเรื่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการผสมขมิ้นเข้าไป)
3. นำปูนแดงที่ผสมกับขมิ้นมาละลายกับน้ำ 
4. นำมาตั้งให้ตกตะกอนจนน้ำส่วนบนใส

เมื่อเอามือจุ่มลงไปในน้ำขณะละลายปูนจะรู้สึกร้อน เพราะขณะละลายจะเกิดการถ่ายเทความร้อนสู่ภายนอก

ประโยชน์ของน้ำปูนใส
1.ช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัสของอาหารให้มีความแข็งหรือกรอบมากขึ้น เนื้ออาหารไม่แฉะ หรือติดมือ เพราะโครงสร้างอาหารเกาะกันแน่นขึ้น
2. ป้องกันการเปื่อยยุ่ยของอาหาร
3. เป็นแหล่งเพิ่มแคลเซียมให้กับอาหาร ลดความเสี่ยงเรื่องกระดูกข้อเสื่อม และเสริมสร้างการสร้างกระดูก
4. เป็นสารกันบูด เพราะต้านการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
5. ลดกลิ่นเหม็นหืน หรือเหม็นบูด
6. ยืดอายุของผัก หรือผลไม้
7. หากน้ำมาล้างผักจะช่วยล้างยาฆ่าแมลง และโลหะหนักที่ตกค้าง

ลักษณะการใช้
1. นำมาทำเป็นน้ำแป้ง หรือส่วนผสมของหวานเพื่อให้ขนมเป็นรูปทรง และจับตัวได้ดี เช่นขนมเปรียกปูน ลอดช่อง เป็นต้น
2. แช่ผลไม้สำหรับทำขนมหวานเพื่อช่วยคงรูปหลังจากผ่านการต้ม หรือนึ่งเพื่อให้เนื้อสัมผัสแข็ง หรือกรอบมากขึ้น เช่นนำไปแช่มะตูมก่อนนำไปเชื่อม
3. แช่ล้างผัก หรือผลไม้
4. ทำเป็นสเปรย์พ่นบนผิวผัก และผลไม้
5. แช่เนื้อสัตว์

ข้อควรระวัง
1. หากใสน้ำปูนใสมากจะทำให้แป้งไม่เหนียว  เนื้อขนมมีรสปร่า หรือจางจากความเป็นด่าง
2. หากแช่ในผัก หรือผลไม้นานเกินไปจะทำให้เปลือกแข็ง เมื่อปรุงอาหารน้ำปรุงรสจะไม่ซึมเข้าเนื้อ

ขนาด

เป็นน้ำใสไม่มีสี มีกลิ่นดินเล็กน้อย และมีรสขมแบบด่าง