ประวัติความเป็นมาของขนมต้มสามเหลี่ยม

ขนมต้มสามเหลี่ยม เป็นขนมที่นิยมทำกันในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ในเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น เทศการชักพระ ที่จะจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา  โดยขนมต้มถือเป็นสัญลักษณ์ของการทำบุญตักบาตรร่วมกัน โดยมีตำนานที่มีการเล่าสืบต่อกันมาคือ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพุทธศาสนิกชนมารอรับเสด็จเป็นจำนวนมากทำให้ไม่สามารถเข้าไปเข้าไปถวายภัตตาหารได้ จึงมีการส่งต่อภัตตาหารที่มีการห่อด้วยใบไม้ แต่เมื่อส่งต่อกันไปเรื่อยก็ทำให้ช้า ไม่ทันใจ พุทธศาสนิกชนบางท่านจึงได้มีการโยน ขว้างปาภัตตาหารและภัตตาหารเหล่านั้นก็ได้ตกลงไปในบาตรของพระพุทธองค์ซึ่งคาดว่าเป็นที่มาของการทำขนมต้ม เเละนำไปเเขวนไว้ที่เรือพระ ขนมต้มสามเหลี่ยมไม่ได้มีแค่วัฒนธรรมของชาวพุทธของชาวไทยเท่านั้น 
แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมของหลายประเทศในแถบพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร หรือกลุ่มเกาะมลายู ขนมต้มมีชื่อในภาษามลายูว่า “ตูปะ” โดยชาวมุสลิม ในทางภาคใต้นิยมทานขนมชนิดนี้ในช่วงวันฮารีรายอ ซึ่งเป็นวันที่เฉลิมฉลองการสิ้นสุดการถือศีลอดของชาวมุสลิม 
ที่มารูปภาพ : https://www.dailynews.co.th/article/503371/