เครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัย







กี่ท่อ


กี่ท่อ รูปทรงกระบอกที่มีโคนใหญ่ปลายเล็ก เป็นแท่งดินเผาที่มีรูปทรงเป็นท่อกลวงตรงกลางเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับวางเครื่องสังคโลกในเตาเผาทุเรียงแบบโบราณ เพื่อไม่ให้สังคโลกสัมผัสกับพื้นดินโดยตรง และจะมีการวางเรียงรายในเตาเผาไม่ให้สัมผัสกัน สามารถใช้ในงานเผาไ


ลายปลากาดำ: เอกลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์บนสังคโลก


ปลาคู่ เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ความอุดมสมบูรณ์ และความสุขในชีวิตการสมรส เป็นหนึ่งในพุทธอัษฎมงคล ซึ่งปรากฏบนฝ่าพระบาทของพระพุทธองค์และใช้ตกแต่งบนเครื่องถ้วยเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ตกแต่งบนก้นด้านนอกของถ้วย


ไห 4 หู


เคลือบสีน้ำตาลเข้มมีหูหิ้วสี่หู เป็นไหโบราณที่ขุดพบริมฝั่งแม่น้ำยม เป็นภาชนะ ผลิตขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึงกลางศตวรรษที่ 15 ดัดแปลงมาจากเครื่องถ้วยเฉลิมพระเกียรติในสมัยเดียวกับเครื่องถ้วยสวรรคโลกยุคแรก ถูกค้นพบในซากเรืออับปางไม่มีด้ามจับเคลือบสีน้ำต


โอ่งเล็ก


โอ่งทรงปากสูงที่ขุดได้จากริมฝั่งแม่น้ำยม โอ่งนี้เป็นรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาที่ไม่ได้ชุบน้ำเคลือบจึงออกมาเป็นผิวแบบดินด้าน



แจกัน


โถที่มีปากเหมือนถ้วยมีขอบเอียง ลำตัวค่อย ๆ ป่องออกจากฐานขึ้นมาถึงไหล่ ไม่เคลือบ


ไหไม่เคลือบ


ไหทรงป่องกลม บริเวณไหล่มีลวดลายประดับ ขอบปากไหจะมีลักษณะผายออก และก้นเรียบ ในอดีตใช้บรรจุขี้เถ้าของผู้ตาย การขุดพบทำให้เห็นการใช้ประโยชน์ในครัวเรือนของจังหวัดสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ไหไม่เคลือบใช้ภายในประเทศและระดับจังหวัดเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการ


กระปุกเคลือบน้ำตาลเล็ก


กระปุกขนาดเล็ก รูปทรงป่องออก ก้นไม่เรียบ และปากเล็กไม่บานออก เคลือบด้วยสีน้ำตาลที่ได้จากดินลูกรังบดละเอียด


กี่งบน้ำอ้อย


กี่งบน้าอ้อย มีลักษณะเป็นแผ่นดินเผารูปกลมแบน มีขาด้านล่าง เตาเผาเมืองสุโขทัยเมื่อต้องการผลิตภาชนะให้ได้จำนวนมาก จึงมักวางภาชนะในเตาเผาซ้อนกันหลายใบ โดยใช้กี่งบน้ำอ้อยคั่นกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จึงมีตำหนิเป็นรอยขากี่ที่ด้านในของภาชนะ

<


ตุ๊กตาไก่หงส์


ตุ๊กตาสังคโลก เป็นสังคโลกประเภทหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏหลักฐานช่วยให้เราเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยสุโขทัยได้ชัดเจนมากขึ้นและสะท้อนความเชื่อและการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนใกล้เคียง โดยนิยมปั้นเป็นรูปคนในอิริยาบถต่าง ๆ และรูปสัตว์


ตุ๊กตาควาย


ตุ๊กตาสังคโลก เป็นสังคโลกประเภทหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏหลักฐานช่วยให้เราเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยสุโขทัยได้ชัดเจนมากขึ้นและสะท้อนความเชื่อและการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนใกล้เคียง โดยนิยมปั้นเป็นรูปคนในอิริยาบถต่าง ๆ และรูปสัตว์


จานลายบัว


จานเคลือบเขียว ปากกว้าง ขอบปากผายออกเป็นขอบหนา ริมเรียบ ด้านบนตัวจานเขียนลายกลีบบัว


ชามใหญ่


ชามปากกว้าง ขอบหนา ด้านในไม่มีลวดลาย ก้นตั้งตรงไม่เรียบไปกับตัวชาม เคลือบด้วยสีน้ำผึ้งเงางาม


ชามเล็ก


ชามมีการบิดเบี้ยว เกิดจากการเผาด้วยอุณหภูมิที่สูงเกินไป การเรียงภาชนะตั้งอยู่ใกล้ห้องใส่ไฟที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้ชามมีการบิดเบี้ยวเสียรูปได้ หรืออาจเกิดจากการเรียงวางซ้อนกันในเตามากเกินไป จนทำให้รับน้ำหนักไม่ไหวเกิดการบิดเบี้ยว ยุบตัว


ตลับลายไทย


ตลับ ใช้ใส่สิ่งของเล็ก ๆ ได้ ลักษณะตัวตลับกลมมน ก้นโค้งเรียบรับกันตัว มีฝาปิด พร้อมที่จับตรงกลางฝาปิด


แจกันปากเล็ก


แจกัน ขนาดเล็ก ลำตัวป่องออกไล่จากก้นมาถึงไหล่ คอสั้น ปากเล็ก เคลือบด้วยสีน้ำผึ้งพร้อมลวดลายสวยงาม


แจกันสีดำ


แจกันรูปทรงโค้งเว้า สีดำเงาขลับสวยงาม สามารถนำไปใส่ดอกไม้เพื่อจัดวางสำหรับไหว้พระหรือโต๊ะหมู่บูชาได้


ลูกจันทร์มีหู


กระปุกขนาดเล็ก รูปทรงค่อย ๆ ป่องออกบริเวณกลางตัว มีหูสองข้างเชื่อมกับปากมายังไหล่ คอสั้น ปากเล็ก ไม่เคลือบ


เชิงเทียน


ตะเกียงน้ำมันแบบต่าง ๆ ถูกผลิตขึ้นที่เตาเผาศรีสัชนาลัยและเตาสุโขทัย บางรูปร่างมีลำต้นสูงและบางชนิดมีลำต้นต่ำ และยังมีจานรองคู่ที่มีทั้งลำต้นต่ำและสูง รูปทรงกลม รูปทรงซูมอร์ฟิก จานรองแบบมีหูจับ และแบบชามลาตัส ถูกผลิตขึ้นที่เตาสุโขทัยและศรีสัชนา


กุณฑีลายดอกไม้


ภาชณะทรงหม้อน้ำคอสูงมีพวย มีปีกยื่นออกมา มีเทคนิคการตกแต่งเคลือบสีน้ำเงิน  ลายดอกไม้ ดังนั้นเราจึงสามารถจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องเคลือบสีน้ำเงินและสีขาว



ไห


ไหทรงป่องกลม บริเวณไหล่มีลวดลายประดับ ขอบปากไหจะมีลักษณะผายออก และก้นเรียบ


แจกัน


แจกันขนาดเล็ก ลำตัวป่องออกไล่จากก้นมาถึงไหล่ ก้นตัดกับตัวแจกันสีน้ำตาลไม่เคลือบ คอสั้น ปากเล็ก เคลือบด้วยสีเขียวมรกต


กระปุกลายคราม


กระปุกที่มีศิลปะแบบจีนชนิดสำริด ซึ่งมีอายุสมัยราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 พบที่บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร มีลักษณะเป็นเครื่องภาชนะกระเบื้อง หรือเครื่องถ้วยของจีน ชนิดที่เขียนลายเป็นสีคราม ซึ่งกระปุกลายหรือเครื่องลายครามเป็นเครื่องภาช


กระปุกข้องสองหู


มีรูปทรงคล้ายน้ำเต้าและหูหิ้วสองหู เคลือบสีน้ำตาล "อายุประมาณ 700 ปี"