วัสดุอุปกรณ์


กล่องไม้ , สี Acrylic สีทองและสีแดงเลือดหมู , สี Acrylic Lacquer Spray เพิ่มความเงางาม , พู่กัน , ลายพิมพ์ไทย , หมอน วัสดุกันกระแทก ,

ประโยชน์ที่ได้รับ


มุมมองด้านวัฒนธรรม - ได้รู้ว่าลายแกะสลักบนขันลงหิน มีการนำลายไทยมาใช้ที่มีชื่อเรียกเฉพาะ ถือเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย - สืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในกระบวนการการทำขันลงหินที่มาจากสมัยอยุธยาจนมาถึงปัจจุบัน - ได้ประยุกต์นำลายไทยจากบนขันลงหินมาใ

Packaging


บรรจุภัณฑ์สีแดง ผิวเงางาม ตกแต่งด้วยลวดลายไทยที่เป็นลวดลายของขันลงหิน ซึ่งเป็นลายกนกกลีบบัว สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของขันลงหินได้เป็นอย่างดี เป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ภายในกล่องจะมีหมอนกันกระแทก เพื่

แนวคิดสำคัญ


จากแนวคิดของ Guilford (1967) ที่กล่าวไว้ว่า “คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะต้องมีความฉับไวที่จะรับรู้ ปัญหา มองเห็นปัญหา มีความว่องไว สร้างหรือแสดง ความคิดเห็นใหม่ๆ และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น” ทำให้ทางกลุ่มมีความคิดที่จะทำบรรจุภัณฑ์ของขันลงหิน เพราะ โดยปก

ที่มาและความสำคัญ


เพราะขันลงหินมีจุดเด่น คือ ความสวยงาม ผิวเงางาม ดูสูงค่า เนื้อภาชนะเหนียว แข็งแรง ไม่ขุ่นมัวได้ง่าย มีน้ำหนัก และเป็นของหายากทำด้วยมือทุกขั้นตอนจึงมีราคาสูง จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปกป้องสินค้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตั้งแต่พ้นผู้ผลิตจนมาถึงมือผู้ซื

ขั้นตอนการทำ


1. แกะสลักลวดลายไทย 2. ลงสีกล้องไม้ 3. รอจนสีแห้ง 4. นำลายพิมพ์ไทยที่แกะสลักไว้ มาทาบกับตัวกล่องและลงสีทอง 5. เก็บรายละเอียดและรอจนสีแห้ง 6. นำ LOGO ที่ออกแบบไว้มาติดที่กลางกล่อง

เครื่องมืออื่นๆ


เขางัว เหล็กปลายโค้งงอเล็กน้อยด้ามไม้ไผ่ใช้เขี่ยผงถ่านเททอง , เขาควาย เหล็กปลายโค้งยาวด้ามไม้ไผ่ใช้เกลี่ยถ่านในเตา , กลาง ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง เพื่อทนความร้อนได้ดีในระหว่างตีแต่งรูปภาชนะ , เหล็กกลึงและหินลับ เหล็กกลึงมี 2 แบบ แบบหน้ากลาง

เบ้าและดินงัน


เบ้าและดินงัน เบ้ามี 2 ชนิด เบ้าดิน ช่างปนขึ้นเองด้วยดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบ มีราคาถูกแต่ไม่คงทนใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็เสีย เบ้ากรด เป็นนอกทําจากโลหะ มีราคาแพง ใช้ได้หลายครั้ง ดินงัน คือ แบบพิมพ์ทอง ทําด้วยดินเหนียวผสมแกลบเผาไฟ ทรงกลม หน้าเป็นหลุม

ผลิตภัณฑ์ขันลงหิน


เครื่องทองลงหินบ้านบุได้รับคัดสรรเป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว จุดเด่น คือ ความสวยงาม ผิวเงางาม ดูสูงค่า เนื้อภาชนะเหนียว แข็งแรง ไม่ขุ่นมัวได้ง่าย มีน้ำหนัก ผิวเย็นและเมื่อเคาะจะเกิดเสียงดังกังวานคล้ายเสียงระฆัง แต่ข้อเสียคือดูแลรักษายากหลังใช้งานเสร็

ผลิตภัณฑ์ขันลงหิน


ในอดีตขันลงหินนิยมมาใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำมนต์ ใช้ในงานบุญงานมงคล โดยคุณสมบัติที่เก็บความเย็นได้นาน บุคคลระดับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่นิยมใช้ เนื่องจากเป็นของหายากทำด้วยมือทุกขั้นตอนจึงมีราคาสูง แต่ในความเป็นจริงทุกวันนี้ผู้ซื้อจะนำไปเป็นของตกแต่งบ้านหรือของท

ประวัติความเป็นมา


ชุมชนบ้านบุ (ขันลงหินบ้านบุ) แหล่งทำขันลงหินในประเทศไทยมีอยู่แหล่งเดียวคือที่ตำบลบ้านบุ อำเภอบางกอกน้อยบริเวณข้างวัดสุวรรณาราม ริมคลองบางกอกน้อย ปัจจุบันนี้คือย่านหลังที่ว่าการเขตบางกอกน้อย การทำขันลงหินเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนอย่างหนึ่ง เล่ากันว่

ค้อนตี


ค้อนตี เป็นเครื่องมือในขั้นตอนที่ 1 ใช้เพื่อตีแผ่แผ่นทองให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตามต้องการ โดยตี รีดไล่ ขยับเลื่อนไปทีละน้อย จนกระทั่งทองใกล้จะเย็นลง สังเกตจากผิวทองจะเป็นสีดำ

ค้อนแต่ง


ค้อนแต่ง เป็นเครื่องมือในขั้นตอนที่ 2 ใช้ตีเพื่อเก็บรอยค้อนต่อจากการตีขึ้นรูปในขั้นตอนที่1 ตีแต่งเนื้อของภาชนะให้เรียบตึงเสมอกัน

ค้อนขึ้น


ค้อนขึ้น ใช้ตีเพื่อตีขึ้นรูปทรงของภาชนะ ให้ได้ออกมาเป็นขันลงหิน

ค้อนตุ้ม


ค้อนตุ้ม ใช้ในงานเคาะ ขึ้นรูป และย้ำหมุดทั่วไป

ค้อนฝาน


ค้อนฝาน ใช้ตอกหรือตีในบริเวณที่แคบหรือบริเวณที่เล็กๆ

เหล็กขนาด


เหล็กขนาด ใช้วัดขนาดทองเพื่อขึ้นรูปภาชนะให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ ช่างตีถือ เป็นเครื่องมือที่จัดว่าเป็นครู เป็นสิ่งที่สําคัญจะไม่ข้ามไม่เหยียบ ในพิธีครอบครูยังใช้เป็นเครื่องมือที่ ครูมอบให้แก่ศิษย์ เพื่อแสดงว่าสามารถเรียนเป็นช่างได้ต่อไปเช่นเดียวกับก

คีม


คีม ใช้ช่วยหนีบแผ่นทองขึ้นมา 2-5 แผ่น จากนั้นเผาไฟสลับกับการตี

ขั้นตอนที่ 1 การตี


การตี เป็นขั้นตอนที่ 1 ผู้ที่ทำหน้าที่คือ ช่างตี เป็นขั้นตอนที่รวมการหลอม แผ่ และตีไว้ด้วยกัน ในปัจจุบันช่างตีจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในการผสมโลหะ โดยต้องผสมโลหะให้ได้เนื้อทองที่เหนียวเหมาะแก่งานบุ ช่างโบราณเมื่อราวรัชกาลที่ 3-4 พอใจใช้ทองเท่า 2 ชนิ

ขั้นตอนที่ 2 การลาย


การลาย เป็นขั้นตอนที่ 2 ที่ผู้ทำหน้าที่นี้ คือ ช่างลาย ทำหน้าที่ตีเก็บรอยค้อนทำให้เนื้อภาชนะเรียบเสมอกัน ก่อนตีลายต้องหาภาชนะด้วยดินหม้อให้ทั่ว เพื่อให้ผิวภาชนะมีความลื่น ไม่ฝืด เวลาตี นำภาชนะที่เตรียมทาดินหม้อไว้ครอบลงบนกระล่อน คือ แท่งเหล็กหัวมนกลม

ขั้นตอนที่ 3 การกลึง


การกลึง เป็นขั้นตอนที่ 3 ช่างกลึงจะทำหน้าที่กลึงผิวภาชนะให้เรียบเสมอกัน เครื่องมือที่สำคัญประกอบด้วยภมรและเหล็กกลึง ภมรแบบดั้งเดิมเป็นเครื่องมือที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นท่อนกลมตรงกลาง บากเป็นร่องมีแท่นรองรับสูงขนาดนั่งกลึงภาชนะกับพื้นได้โดยสะดวก หมุ

ขั้นตอนที่ 4 การกรอ


การกรอ เป็นขั้นตอนที่ 4 การกรอคือการที่ช่างนำตะไบมากรอขอบปากของภาชนะให้เรียบเสมอกัน แต่เดิมเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ขึ้นตะไบ" เนื่องจากช่างจะใช้ตะไบเป็นเครื่องมือในการตกแต่ง แต่ในปัจจุบันมีการปรับ-เปลี่ยนมาใช้เครื่องกรอไฟฟ้าตกแต่งแทน

ขั้นตอนที่ 5 การเจียร


การเจียร การเจียรในสมัยโบราณไม่มีขั้นตอนนี้แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตได้ประยุกต์นำเครื่องเจียรไฟฟ้าโดยใช้แผ่นเจียรโลหะเนื้อหยาบมาแต่งรอยตำหนิต่าง ๆ บนภาชนะเพื่อให้ผิวภาชนะเรียบเรียกว่า "การเก็บเม็ด" ซึ่ง ในขั้นตอนนี้ช่างจะเจียรเฉพาะส่วนที่มีริ้วรอยเท่

ขั้นตอนที่ 6 การขัด


การขัด การขัดเป็นขั้นตอนที่ ต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมาก ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ เรียกว่าช่างขัด สมัยก่อนช่างโบราณใช้หินเนื้อละเอียดอย่างหินลับมีดทั้งก้อนขัดภาชนะให้ขึ้นเงา ต่อมาช่างบ้านบุใช้เบ้าดินเผาที่ใช้แล้ว มีเนื้อแกร่งเหมือนหิน บดให้ย่อยผสมกับน้ำมะ