ดินแดนแห่งพืชทนเค็ม

รายละเอียด

  

พืชทนเค็ม นั้นเกิดจากพันธุ์ไม้ในป่าชายเลนแต่ละชนิดจะมีการปรับตัวเพื่อใช้เฉพาะน้ำจืดที่ผสมอยู่ในน้ำเค็มในการเจริญเติบโตและรักษาปริมาณน้ำจืดไว้ในส่วนต่างๆ ให้ได้นานที่สุด พร้อมกับกำจัดเกลือส่วนเกินทิ้งไป โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. ต้นไม้บางชนิด เช่น โกงกางใบเล็ก และ โกงกางใบใหญ่ จะกรองเฉพาะน้ำจืดเข้าไปในลำต้นโดยเยื่อบางๆ บริเวณราก

2. ต้นไม้บางชนิด เช่น แสม และ เล็บมือนาง เหงือกปลาหมอจะดูดซึมน้ำเค็มที่มีเกลือเจือปนเข้าไปในลำต้นแล้วจึงขับเกลือออกทางปากใบในภายหลัง

3. ต้นไม้บางชนิด เช่น ลำพู ลำแพน จะเก็บสะสมน้ำไว้ในลำต้นในปริมาณมากเพื่อเจือจางเกลือส่วนเกินให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย ในขณะเดียวกันนั้นก็จะลำเลียงเกลือไปไว้ที่ใบ เมื่อเซลล์ส่วนใบตายจะสีเหลืองแล้วร่วงหล่นออกจากลำต้นจึงเป็นการทิ้งเกลือออกไปพร้อมกับใบที่ร่วงหล่นนั่นเอง

ลักษณะภายนอกสำหรับปรับตัวของไม้ในป่าชายเลนให้อยู่ในน้ำเค็มได้ที่เราจะเห็นได้ชัดที่สุดและพรรณในไม้ป่าชายเลนเกือบทุกชนิดมีเหมือนๆ กัน คือ ใบที่หนาเพราะกักเก็บน้ำ ผิวใบมันเพราะเคลือบด้วยสารคล้ายขี้ผึ้ง ปากใบอยู่ทางด้านล่างของใบ และปากใบปิดในช่วงเวลากลางวัน เพื่อลดการสูญเสียน้ำจืดที่มีอยู่อย่างจำกัดออกจากลำต้น








ท่าระแนะดินแดนแห่งพืชทนเค็มสำหรับต้นไม้ที่อยู่บนบก หากเราเอาน้ำเค็มรดเชื่อว่าไม่กี่วันต้นไม้เหล่านั้นก็คงตายไม่มีเหลือ แต่ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมต้นไม้ในป่าชายเลนที่ถูกน้ำเค็มท่วมขังเกือบตลอดเวลาจึงไม่ตาย คำตอบที่ว่า ต้นไม้ในป่าชายเลนสามารถใช้น้ำเค็มในการเจริญเติบโตได้นั้นเป็นความคิดที่ผิดถนัด เพราะพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทุกชนิดยังคงต้องใช้ “น้ำจืด” ในการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากพืชบก หากต้องการทราบคำตอบท่านสามารถมาสัมผัส และสังเกตได้ยังท่าระแนะดินแดนแห่งพืชทนเค็มอายุมากกว่า 200 ปี รอท่านมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ








ขนาด

ลักษณะใบไม้พรรณไม้ป่าชายเลนที่มีลักษณะหนา อวบน้ำ  เป็นหนึ่งในวิธึการสงวนและรักษาน้ำจืดไว้ ร่วมกับการเลือกกักเก็บเฉพาะน้ำจืดของรากและลำต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการปรับตัวต่อการขึ้นในน้ำที่มีความเค็มของป่าชายเลน